รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบิร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ บันทึกว่า เด็กชายมหิดล เกิดเมื่อ 08.45 น. (ตรงกับเวลา 20.45 น. ในประเทศไทย) น้ำหนัก 6 ปอนด์ 9 ออนซ์ สุขภาพสมบูรณ์
แต่แรกประสูตินั้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท์มหิดล ทรงดำรงพระยศเป็น “หม่อมเจ้า” ต่อมาในปี 2470 เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนฐานันดรศักดิ์พระเจ้าหลานเธอขึ้นเป็น “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า”
ในปี 2471 สมเด็จพระบรมราชชนกสำเร็จวิชาการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา ทรงพาครอบครัวเสด็จกลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ซึ่งเป็นวังที่รัชกาลที่ 5 พระราชทานแก่สมเด็จพระบรมราชชนก พระราชโอรสองค์เล็ก และเป็นที่ประทับของ “สมเด็จย่า” สมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จนพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 1 พรรษากับ 9 เดือนเศษ สมเด็จพระราชบิดาเสด็จทิวงคต ทำให้สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงรับภาระเลี้ยงดูพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยพระองค์เอง
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร แต่ไม่นานเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น สมเด็จพระบรมราชชนนี จึงทรงดำริจะพาพระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จไปศึกษาต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมนูเวล เดลอลา สวิสโลมางค์ และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซานต์ แผนกวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยครั้งแรก พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอประทับอยู่เป็นเวลา 2 เดือน ก็เสด็จกลับไปศึกษาต่อ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษาเท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนึ่งด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยสมเด็จ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระราชประวัติการศึกษา
เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ “ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า 53 ปี แล้ว แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “ อัครศิลปิน”ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติ
ดนตรี
ในสมัยทรงพระเยาว์ เวลาว่างจากพระราชกิจประจำวัน ทรงสนพระทัยในการดนตรีเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะหัดทรงดนตรีนั้น ได้ไปให้แพทย์ตรวจว่าพระชันษาของพระองค์พอจะทรงชักหีบเพลงได้หรือยัง ครั้นแพทย์ได้ลงความเห็นว่าสมควรที่จะทรงได้แล้ว พระองค์ได้ทรงซื้อเครื่องดนตรีทุกชนิดมาหัดจนกระทั่งเกิดความชำนาญ ทรงมีพร้อมทั้งหีบเสียง วิทยุ และเครื่องดนตรีต่างๆ ทรงอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการดนตรี เพื่อทราบประวัตินักดนตรีที่มีชื่อ และมีในสมัยทรงพระเยาว์ เวลาว่างจากพระราชกิจประจำวัน ทรงสนพระทัยในการดนตรีเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะหัดทรงดนตรีนั้น ได้ไปให้แพทย์ตรวจว่าพระชันษาของพระองค์พอจะทรงชักหีบเพลงได้หรือยัง ครั้นแพทย์ได้ลงความเห็นว่าสมควรที่จะทรงได้แล้ว พระองค์ได้ทรงซื้อเครื่องดนตรีทุกชนิดมาหัดจนกระทั่งเกิดความชำนาญ ทรงมีพร้อมทั้งหีบเสียง วิทยุ และเครื่องดนตรีต่างๆ ทรงอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับการดนตรี เพื่อทราบประวัตินักดนตรีที่มีชื่อ และมีแผ่นเสียงเพลงที่บรรเลงโดยนักดนตรีชนิดนั้นๆ ในอันที่จะเปรียบเทียบดูว่า ใครเล่นดีที่สุดในเครื่องดนตรีชนิดไหนๆ ตรงกับหนังสือเล่มนั้นวิจารณ์ไว้เช่นไรบ้าง แคลริเนทและแซกโซโฟน เป็นเครื่องดนตรีที่โปรดมาก ต่อมาได้ทรงใช้เวลาว่างจากพระราชกิจพระราชนิพนธ์เพลงไว้มากมายเพลงพระราชนิพนธ์
1. แสงเทียน
|
14. ลายคราม
|
27. แว่ว
|
2. สายฝน
|
15. ภิรมย์รัก
|
28. OH I SAY
|
3. ใกล้รุ่ง
|
16. ธงชัยเฉลิมพล
|
29. เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย
|
4. เทวาพาคู่ฝัน
|
17. แผ่นดินของเรา
|
30. เตือนใจ
|
5. มหาจุฬาลงกรณ์
|
18. เมื่อโสมส่อง
|
31. ไร้เดือน
|
6. ในดวงใจนิรันดร์
|
19. ชะตาชีวิต
|
32. ศุกร์สัญญลักษณ์
|
7. สายลม
|
20. ยามเย็น
|
33. คำหวาน
|
8. มาร์ชราชวัลลภ
|
21. ดวงใจกับความรัก
|
34. เราสู้
|
9. ลมหนาว
|
22. ยามค่ำ
|
35. ยิ้มสู้
|
10. CAN'T YOU EVER SEE
|
23. ธรรมศาสตร์
|
36. ฝัน
|
11. ความฝันอันสูงสุด
|
24. เกาะในฝัน
|
37. รัก
|
12. อาทิตย์อับแสง
|
25. ค่ำแล้ว
|
38. พรปีใหม่
|
13. รักคืนเรือน
|
26. มาร์ชราชนาวิกโยธิน
|
39. แสงเดือน
|
ฯลฯ
การช่าง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดการช่างเป็นพิเศษ ในสมัยทรงพระเยาว์ ทรงนำสิ่งของที่เหลือใช้ภายในพระตำหนักที่ประทับเท่าที่จะหาได้ เช่น ไม้แขวนเสื้อ มาสร้างรถไฟฟ้าเล่น มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับทำให้รถไฟแล่นก็ทรงประดิษฐ์เอง โดยเอาลวดทองแดงมาพันเข้าเป็นแกนกลางของเครื่องมอเตอร์ ในพระตำหนักจะเต็มไปด้วยเครื่องมือช่างไม้ เครื่องจักรกล และสิ่งของที่ทรงสนพระทัย ทรงเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นชั้นเลิศ เห็นได้จากบทความ “ตามรอยพระยุคลบาท” ของพล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือมติชนที่ว่า “…ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า เฮลิคอปเตอร์ของกรมตำรวจที่ใช้ปฏิบัติหน้าที่สนามนั้น ไม่มีอาวุธติดกับเครื่องบิน เพราะเป็นเฮลิคอปเตอร์ธรรมดาสำหรับใช้ขนส่งทั่วไป… เมื่อทรงทราบเช่นนั้นก็ทรงพระกรุณาพระราชทานความคิดให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกร ไปประดิษฐ์ฐานสำหรับติดตั้งปืนกลติดกับตัวเครื่องบิน เพื่อให้นักบินสามารถยิงตรงไปทางด้านหน้าได้ด้วย” “…พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในส่วนประกอบและการทำงานของปืน M16 ถึงกับได้ทรงผ่าปืนชนิดนั้นออกเพื่อทรงศึกษากลไกและส่วนประกอบของปืน ต่อมาในไม่ช้า ก็ทรงสามารถประกอบอาวุธปืนชนิดนั้นได้ด้วยพระองค์เอง เวลาเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหน่วยทหารหน่วยตำรวจและมีผู้ถวายรายงานว่า ปืนชนิดนั้นชำรุดและไม่สามารถจะซ่อมแซมได้เพราะขาดเครื่องอะไหล่และขาดช่าง ก็ทรงพระกรุณารับปืนเหล่านั้นไป และทรงซ่อมด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้ส่วนที่ยังใช้การได้ดีอยู่ของปืนกระบอกหนึ่ง ไปซ่อมส่วนที่ชำรุดเสียหายของปืนกระบอกหนึ่ง ด้วยวิธีนี้ ปืนที่เสียหลายกระบอกจึงกลายเป็นปืนที่กลับดีขึ้นมาอีก ”
“…นอกจากอาวุธปืนแล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเครื่องรับส่งวิทยุด้วย พระเจ้าอยู่หัวโปรดการทดลองรับส่งวิทยุกับสถานีต่าง ๆ และเมื่อรู้ว่าโปรด ก็มีผู้นำเครื่องส่งรับวิทยุมือถือขนาดเล็ก (ซึ่งเป็นของใหม่และหายากในสมัยนั้น) ไปทูลเกล้าฯถวายหลายเครื่อง มีอยู่เครื่องหนึ่งซึ่งผู้ถวายอ้างว่า ส่วนประกอบภายในของเครื่องนั้นแยกบรรจุเอาไว้ในโมดูลเล็ก ๆ ซึ่งแข็งแรงและแน่นหนามาก แม้จะตกน้ำแล้วก็ยังใช้ได้ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า พอกราบบังคมทูลเช่นนั้น พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำภาชนะใส่น้ำมา แล้วทรงแช่เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นลงในน้ำทันที เพื่อจะดูว่า หลังจากแช่น้ำแล้ว จะยังใช้ได้ดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ปรากฏว่า เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นยังใช้การได้ดีจริง ๆ ทรงเรียกเครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นว่า “เครื่องแช่น้ำ”
“…นอกจากอาวุธปืนแล้ว พระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในเครื่องรับส่งวิทยุด้วย พระเจ้าอยู่หัวโปรดการทดลองรับส่งวิทยุกับสถานีต่าง ๆ และเมื่อรู้ว่าโปรด ก็มีผู้นำเครื่องส่งรับวิทยุมือถือขนาดเล็ก (ซึ่งเป็นของใหม่และหายากในสมัยนั้น) ไปทูลเกล้าฯถวายหลายเครื่อง มีอยู่เครื่องหนึ่งซึ่งผู้ถวายอ้างว่า ส่วนประกอบภายในของเครื่องนั้นแยกบรรจุเอาไว้ในโมดูลเล็ก ๆ ซึ่งแข็งแรงและแน่นหนามาก แม้จะตกน้ำแล้วก็ยังใช้ได้ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า พอกราบบังคมทูลเช่นนั้น พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำภาชนะใส่น้ำมา แล้วทรงแช่เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นลงในน้ำทันที เพื่อจะดูว่า หลังจากแช่น้ำแล้ว จะยังใช้ได้ดีตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ ปรากฏว่า เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นยังใช้การได้ดีจริง ๆ ทรงเรียกเครื่องรับส่งวิทยุเครื่องนั้นว่า “เครื่องแช่น้ำ”
ดุริยางคศิลป์
ทรงได้รับการยกย่องจากคณะกรรมการสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2529 ให้เป็นองค์อัครศิลปินแห่งชาติ ทรงแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางดนตรีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงได้รับการฝึกหัดดนตรีตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา ทรงนำพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ทรงสะสมไว้ไปซื้อคลาริเนตมาทรงฝึกเป่า นอกจากนั้นยังสามารถทรงดนตรีอื่น ๆ ได้อีกหลายชนิด
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว เมื่อมีเวลาว่าง จะทรงดนตรีกับนักดนตรี และข้าราชบริพาร ซึ่งต่อมาได้ทรงรวบรวมนักดนตรีแล้วจัดตั้งวง อ.ส.วันศุกร์ โดยทรงร่วมบรรเลงบทเพลงร่วมกับนักดนตรี ออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ อ.ส.ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเป็นประจำในตอนเย็นวันศุกร์ แต่ต่อมาทรงว่างเว้นการทรงดนตรีลงเนื่องด้วยพระราชกิจ นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งวงดนตรี สหายพัฒนา โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงเป็นหัวหน้าวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เพลงด้วยพระองค์เองมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2489 จนถึงปัจจุบัน นับได้เกือบ 50 เพลง ซึ่งล้วนเป็นบทเพลงที่ไพเราะและมีความหมายลึกซึ้ง
ในพ.ศ.2507 วงดุริยางค์ เอ็นคิวโทนคุนสเลอร์ ( N.Q. Tonkunstler Orchestra) แห่งกรุงเวียนนา ได้คัดเลือกบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลง มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศออสเตรีย ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างสูง จนสองวันต่อมา สถาบันการดนตรี และศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ( Institute of Music and Arts of City of Vienna) โดยรัฐบาลออสเตรีย ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ลำดับที่ 23 ของสถาบัน มีการจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลักของสถาบัน นับเป็นผู้ประพันธ์เพลงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้
ในพ.ศ.2507 วงดุริยางค์ เอ็นคิวโทนคุนสเลอร์ ( N.Q. Tonkunstler Orchestra) แห่งกรุงเวียนนา ได้คัดเลือกบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลง มีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศออสเตรีย ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างสูง จนสองวันต่อมา สถาบันการดนตรี และศิลปะแห่งกรุงเวียนนา ( Institute of Music and Arts of City of Vienna) โดยรัฐบาลออสเตรีย ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ลำดับที่ 23 ของสถาบัน มีการจารึกพระนามลงบนแผ่นหินสลักของสถาบัน นับเป็นผู้ประพันธ์เพลงชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติเช่นนี้
ทัศนศิลป์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก สมัยทรงพระเยาว์ ทรงซื้อกล้องถ่ายรูปกล้องแรกเมื่อพระชนมายุเพียง 6 พรรษา เป็นกล้องถ่ายรูปแบบกล้องรุ่นเก่า แม้ว่าครั้งนั้นจะทรงประสบความล้มเหลวในระยะเริ่มแรก กล่าวคือ ทรงถ่ายไป 6 ใบ ได้รูปดีเพียง 1 ใบ แต่มิได้ทรงย่อท้อ ทรงศึกษาค้นคว้าต่อมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งทรงกลายเป็นเอตทัคคะในการถ่ายรูป ทรงโปรดที่จะถ่ายรูปขาวดำมากกว่าอย่างอื่น นอกจากนี้ยังทรงเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์ แสตนดาร์ดรายสัปดาห์ภาษาอังกฤษ โดยได้ทรงพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ให้เป็นระยะ ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมักจะทรงนำกล้องถ่ายรูปคล้องพระศอ เสด็จออกตามถิ่นทุรกันดารอยู่เป็นประจำ จนภาพในหลวงที่มีกล้องคล้องพระศอ ในพระหัตถ์มีดินสอและแผนที่ เสด็จตามพื้นที่ทุรกันดารต่าง ๆ เป็นภาพที่คุ้นตาพสกนิกรทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างดี
วรรณศิลป์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทความ และทรงแปลสารคดีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การทหาร และชีวประวัติบุคคลมากมายหลายเรื่อง
เมื่อปีพ.ศ. 25436 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์บทพระราชนิพนธ์ นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ซึ่งเป็นการแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson โดยทรงใช้เวลาในการแปลถึงเกือบ3 ปี และมีการพิมพ์ซ้ำถึง 9 ครั้ง จำนวนรวม 90,000 เล่ม ในเวลาเพียง 2 เดือน
เนื่องในวโรกาสที่ทรงจำเริญพระชนมายุ 66 พรรษา ณ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา
ต่อมาใน พ.ศ. 2537 ได้ทรงนำบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลและเรียบเรียงมานานกว่า 20 ปีแล้ว เรื่อง ติโต ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน " ติโต " เป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่แตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ให้กลับมารวมกันเป็นปึกแผ่นในยามวิกฤติ สามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของเขา
" พระมหาชนก " ฉบับการ์ตูน พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2542 ราคา 35 บาท ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล (พ.ศ.2539) พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกถึงมือผู้อ่าน และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พ.ศ.2542) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินผู้ชำนาญการที่สุดเป็นผู้วาดรูป และโปรดฯ ให้พิมพ์ด้วยกระดาษไทย เพื่อความประหยัด และทุกคนมีโอกาสได้อ่าน ปรากฏว่า เด็กอายุเก้าขวบพูดออกมาว่าอย่างนี้อ่านรู้เรื่อง และผู้ใหญ่วัยเจ็ดสิบปีก็อุทานออกมาว่าอ่านสบายไม่ต้องแบกหนังสือที่หนัก นอกจากนี้ราคานับว่าย่อมเยา พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกก็จะช่วยให้ทุกคนสามารถพิจารณาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคล ส่วนหนึ่งจากพระราชปรารภ พระมหาชนกฉบับการ์ตูน พระมหาชนกฉบับการ์ตูนนี้ ีผู้เขียนการ์ตูนประกอบ ได้แก่ ชัย ราชวัตร ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทรงมีพระราชดำริในการให้ใช้ลายเส้นแบบไทยๆ แทนที่จะใช้ลายเส้นแบบการ์ตูนญี่ปุนซึ่งเป็นที่นิยม แสดงถึงพระราชดำริที่ทรงภาคภูมิใจในความเป็นไทย
เช่นเดียวกันกับเมื่อทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่ข้าราชการและพสกนิกร ในวโรกาสต่าง ๆ เมื่อเสด็จกลับ ก็ทรงใช้รถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า ซึ่งผลิตในประเทศไทย แทนรถยนต์ยุโรปยี่ห้ออื่น ๆ สมควรที่ข้าชบริพารและพสกนิกรควรถือเป็นแบบอย่าง
เมื่อปีพ.ศ. 25436 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์บทพระราชนิพนธ์ นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ซึ่งเป็นการแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson โดยทรงใช้เวลาในการแปลถึงเกือบ3 ปี และมีการพิมพ์ซ้ำถึง 9 ครั้ง จำนวนรวม 90,000 เล่ม ในเวลาเพียง 2 เดือน
เนื่องในวโรกาสที่ทรงจำเริญพระชนมายุ 66 พรรษา ณ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บริษัทอมรินทร์พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายเพื่อหารายได้สมทบทุนมูลนิธิชัยพัฒนา
ต่อมาใน พ.ศ. 2537 ได้ทรงนำบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงแปลและเรียบเรียงมานานกว่า 20 ปีแล้ว เรื่อง ติโต ออกเผยแพร่สู่สาธารณชน " ติโต " เป็นผู้ทำให้ประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยชนชาติที่แตกต่างกันทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ให้กลับมารวมกันเป็นปึกแผ่นในยามวิกฤติ สามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของเขา
" พระมหาชนก " ฉบับการ์ตูน พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2542 ราคา 35 บาท ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกแห่งรัชกาล (พ.ศ.2539) พระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกก็ออกถึงมือผู้อ่าน และเป็นที่ชื่นชมโดยทั่วไป แต่หนังสือพระราชนิพนธ์นี้ก็ยังอ่านค่อนข้างยาก ด้วยความซับซ้อนของข้อความและของภาพ ทำให้มีการวิจารณ์และตีความกันในทางต่างๆ นานา ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พ.ศ.2542) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินผู้ชำนาญการที่สุดเป็นผู้วาดรูป และโปรดฯ ให้พิมพ์ด้วยกระดาษไทย เพื่อความประหยัด และทุกคนมีโอกาสได้อ่าน ปรากฏว่า เด็กอายุเก้าขวบพูดออกมาว่าอย่างนี้อ่านรู้เรื่อง และผู้ใหญ่วัยเจ็ดสิบปีก็อุทานออกมาว่าอ่านสบายไม่ต้องแบกหนังสือที่หนัก นอกจากนี้ราคานับว่าย่อมเยา พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกก็จะช่วยให้ทุกคนสามารถพิจารณาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคล ส่วนหนึ่งจากพระราชปรารภ พระมหาชนกฉบับการ์ตูน พระมหาชนกฉบับการ์ตูนนี้ ีผู้เขียนการ์ตูนประกอบ ได้แก่ ชัย ราชวัตร ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทรงมีพระราชดำริในการให้ใช้ลายเส้นแบบไทยๆ แทนที่จะใช้ลายเส้นแบบการ์ตูนญี่ปุนซึ่งเป็นที่นิยม แสดงถึงพระราชดำริที่ทรงภาคภูมิใจในความเป็นไทย
เช่นเดียวกันกับเมื่อทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่ข้าราชการและพสกนิกร ในวโรกาสต่าง ๆ เมื่อเสด็จกลับ ก็ทรงใช้รถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า ซึ่งผลิตในประเทศไทย แทนรถยนต์ยุโรปยี่ห้ออื่น ๆ สมควรที่ข้าชบริพารและพสกนิกรควรถือเป็นแบบอย่าง
การกีฬา
ในสมัยทรงพระเยาว์ ทรงโปรดฮอกกี้น้ำแข็ง และสกีหิมะ จนกระทั่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อทรงมีเวลาว่าง ก็จะทรงกีฬาเป็นการออกกำลังพระวรกายและพักผ่อนพระองค์อยู่เสมอ กีฬาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่นนั้น มีหลายประเภท เช่น แบดมินตัน เทนนิส ยิงปืน วิ่งเพื่อสุขภาพ (จ๊อกกิ้ง) แต่กีฬาที่ทรงเล่นอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมาคือ เรือใบ ทรงต่อเรือใบเพื่อใช้ทรงด้วยพระองค์เอง จนเป็นผลสำเร็จ และได้ทรงนำไปแข่งขันในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กีฬาซีเกมส์) จนได้รับชัยชนะในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2510 ทรงครองเหรียญทองร่วมกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา ฯ นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในทวีปเอเชียที่ครองรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันและเป็นที่ยอมรับในวงการกีฬาเรือใบระดับโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบขึ้นหลายลำ เช่น เรือไมโครมด เรือทัศนวลาลัย เรือตลกนาวี เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งและเนื่องจากสนพระราชหฤทัยในงานช่างมาแต่เดิมแล้วจึงโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองและทรงทดลองแล่นเรือในสระภายในสวนจิตรลดา เรือใบฝีพระหัตถ์ที่สำคัญมี ๓ ประเภท ได้แก่ เรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class), เรือใบประเภทโอเค (International OK Class) และเรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class)
เรือใบลำแรกที่ทรงต่อเองเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นเรือใบประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class) ชื่อ "เรือราชปะแตน" และลำต่อมาชื่อ "เรือเอจี" โดยทรงต่อตามแบบสากล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแข่งขันแล่นใบหลายครั้งทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงใช้เรือราชปะแตนแข่งขันกับ ดิค ออฟ เอดินเบอระ (The Duke of Edinburgh) พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์โดยใช้เส้นทางไปกลับ พัทยา - เกาะล้าน
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบประเภทโอเค (International OK Class) ตามแบบสากลลำแรกที่ทรงต่อชื่อ "เรือนวฤกษ์" หลังจากนั้นทรงต่อเรือใบประเภทนี้อีกหลายลำ เช่น เรือเวคา ๑, เรือเวคา ๒ และเรือเวคา ๓ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธจำนวนหลายลำ เรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไม่เกิน ๑๑ ฟุต เนื้อที่ใบไม่เกิน ๗๕ ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรืออาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ - ๒๕๑๐ มีอยู่ ๓ แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้ เรือมด, เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด
ในยามที่ทรงเว้นว่างจากพระราชกรณียกิจ จะทรงใช้เวลาออก แบบและสร้างเรือใบด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบที่ทรงออกแบบมิได้ตามแบบอย่างของต่างประเทศ ทรงพระ ราชทานนามเรือใบลำนั้นว่า "เรือใบมด" (MOTH)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งและเนื่องจากสนพระราชหฤทัยในงานช่างมาแต่เดิมแล้วจึงโปรดที่จะต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองและทรงทดลองแล่นเรือในสระภายในสวนจิตรลดา เรือใบฝีพระหัตถ์ที่สำคัญมี ๓ ประเภท ได้แก่ เรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class), เรือใบประเภทโอเค (International OK Class) และเรือใบประเภทม็อธ (International Moth Class)
เรือใบลำแรกที่ทรงต่อเองเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นเรือใบประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ (International Enterprise Class) ชื่อ "เรือราชปะแตน" และลำต่อมาชื่อ "เรือเอจี" โดยทรงต่อตามแบบสากล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแข่งขันแล่นใบหลายครั้งทั้งในและนอกประเทศ เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ ทรงใช้เรือราชปะแตนแข่งขันกับ ดิค ออฟ เอดินเบอระ (The Duke of Edinburgh) พระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์โดยใช้เส้นทางไปกลับ พัทยา - เกาะล้าน
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบประเภทโอเค (International OK Class) ตามแบบสากลลำแรกที่ทรงต่อชื่อ "เรือนวฤกษ์" หลังจากนั้นทรงต่อเรือใบประเภทนี้อีกหลายลำ เช่น เรือเวคา ๑, เรือเวคา ๒ และเรือเวคา ๓ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบและต่อเรือใบประเภทม็อธจำนวนหลายลำ เรือประเภทนี้เป็นเรือที่กำหนดความยาวตัวเรือไม่เกิน ๑๑ ฟุต เนื้อที่ใบไม่เกิน ๗๕ ตารางฟุต ส่วนความกว้างของเรือ รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา ออกแบบได้โดยไม่จำกัด วัสดุที่ใช้สร้างเรืออาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม้ก็ได้ เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ - ๒๕๑๐ มีอยู่ ๓ แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้ เรือมด, เรือซูเปอร์มด และเรือไมโครมด
ในยามที่ทรงเว้นว่างจากพระราชกรณียกิจ จะทรงใช้เวลาออก แบบและสร้างเรือใบด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบที่ทรงออกแบบมิได้ตามแบบอย่างของต่างประเทศ ทรงพระ ราชทานนามเรือใบลำนั้นว่า "เรือใบมด" (MOTH)
- เรือใบมด มีขนาดตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต กว้าง ๔ ฟุต ๗ นิ้ว เสาเดี่ยว เนื้อที่ใบ ๗๒ ตารางฟุต เป็นเรือใบขนาดเล็กเหมาะกับคนไทย น้ำหนักเบาสะดวกในการเคลื่อนย้ายเก็บ รักษาง่าย มีคุณสมบัติว่องไว แล่นได้เร็ว และมีราคาถูก ข้อดีต่างๆ นี้ทำให้เรือใบมดที่ทรงออกแบบได้มาตรฐาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดลิขสิทธิ์เป็นสากลประเภท International Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ
- เรือใบซูปเปอร์มด เป็นเรือใบมดที่ทรงปรับปรุงแบบใหม่ ทรงออกแบบตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต เท่าเรือมดแต่ความกว้างเพิ่มขึ้น คือกว้าง ๔ ฟุต ๑๑ นิ้ว ท้องแบน น้ำหนักประมาณ ๓๔ กิโลกรัม เนื้อที่ใบโตเท่าเดิม การทรงตัวดี ความเร็วมีมากขึ้น ตัวเรือคงทนแข็งแรง สู้คลื่นลมได้ดี และมีความปลอดภัยสูง เรือใบซูปเปอร์มดนี้ใช้แข่งขันกีฬานานาชาติเป็นครั้งแรกในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และใช้ในการแข่งขันกีฬานานาชาติทุก ๆ ครั้งที่แข่งในประเทศไทย ครั้งหลังสุดใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ ณ ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๒๘
- เรือใบไมโครมด เป็นเรือใบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบโดยให้มีขนาดเล็กกว่าเรือมด คือ ตัวเรือยาว ๗ ฟุต ๙ นิ้ว กว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว เป็นเรือขนาดเล็กมาก เหมาะสำหรับเด็กและคนร่างเล็ก วิธีการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีวิธีการสร้างที่ง่าย ประหยัดและสะดวก ใช้เครื่องมีอช่างไม้ธรรมดา ๆ ก็สามารถทำได้ วัสดุที่ใช้ล้วนหาได้ในประเทศทั้งสิ้น ขั้นตอนการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระองค์ท่าน มีขั้นตอนหลัก ๔ ขั้นตอน คือ
๑. เปลือกเรือทำด้วยไม้ยมหอมหนา ๔ มิลลิเมตร จัดทำข้างขวา ๑ แผ่น ข้างซ้าย ๑ แผ่น รูปแบบและขนาดกำหนดไว้ในแบบแปลนก็จะได้เปลือกเรือตามต้องการ ส่วนนี้ทรงเรียกว่า "ปลาแห้ง"
๒. ประกอบเปลือกเรือหรือปลาแห้งเข้ากับแผ่นปิดท้ายเรือ ขอบด้านล่างของปลาแห้งผูกติดกันด้วยลวด ตามรูที่เจาะไว้ ปลาแห้งก็จะห่อตัวเป็นรูปตัวเรือ แล้วทากาวหยอดทิ้งไว้กาวจะแห้งและติดแน่นแล้ว ตัดลวดที่ผูกไว้ชั่วคราวออก เสริมผ้าใยแก้วทับแนวให้แข็งขึ้น ไม่ต้องสร้างกงเรือ วิธีนี้เป็นวิธีใหม่ที่พระองค์ทรงคิดค้นเพื่อให้เรือแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา
๓. ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น ไม้กระดูกงู ทวนหัวเรือ อะเส ฝักมะขาม เต้ารองรับ เสา ฝากั้นภายในขอบที่นั่ง แล้วทาสีภายในให้ทั่ว ทา ๒ ถึง ๓ เที่ยวเพื่อรักษาเนื้อไม้ไม่ให้น้ำดูดซึมได้ ซึ่งจะทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
๔. ปิดแผ่นดาดฟ้าเรือ แล้วขัดแต่งผิวเรือภายนอกให้เรียบ แล้วจึงพ่นสีเรือตามต้องการ เมื่อสีแห้งดีแล้ว จึงเริ่มประกอบอุปกรณ์แล่นใบ เช่น พุกผูกเชือก รอกต่าง ๆ เชือก เสา เพลา ใบ และชุดหางเสือเรือ เป็นอันเสร็จพิธี
เรือใบลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ คือ "เรือโม้ก" (Moke) เป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบให้มีลักษณะผสมระหว่างเรือโอเค และเรือซุปเปอร์มด คือทรงออกแบบให้มีขนาดของลำเรือใหญ่กว่าเรือซุปเปอร์มด โดยให้มีขนาดใกล้เคียงเรือโอเค และใช้อุปกรณ์เสาและใบของเรือโอเค หลังจากทรงออกแบบเรือโม้กแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงออกแบบเรือใบอีก เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
- เรือใบซูปเปอร์มด เป็นเรือใบมดที่ทรงปรับปรุงแบบใหม่ ทรงออกแบบตัวเรือยาว ๑๑ ฟุต เท่าเรือมดแต่ความกว้างเพิ่มขึ้น คือกว้าง ๔ ฟุต ๑๑ นิ้ว ท้องแบน น้ำหนักประมาณ ๓๔ กิโลกรัม เนื้อที่ใบโตเท่าเดิม การทรงตัวดี ความเร็วมีมากขึ้น ตัวเรือคงทนแข็งแรง สู้คลื่นลมได้ดี และมีความปลอดภัยสูง เรือใบซูปเปอร์มดนี้ใช้แข่งขันกีฬานานาชาติเป็นครั้งแรกในกีฬาแหลมทองครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และใช้ในการแข่งขันกีฬานานาชาติทุก ๆ ครั้งที่แข่งในประเทศไทย ครั้งหลังสุดใช้ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ ณ ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๒๘
- เรือใบไมโครมด เป็นเรือใบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบโดยให้มีขนาดเล็กกว่าเรือมด คือ ตัวเรือยาว ๗ ฟุต ๙ นิ้ว กว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว เป็นเรือขนาดเล็กมาก เหมาะสำหรับเด็กและคนร่างเล็ก วิธีการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีวิธีการสร้างที่ง่าย ประหยัดและสะดวก ใช้เครื่องมีอช่างไม้ธรรมดา ๆ ก็สามารถทำได้ วัสดุที่ใช้ล้วนหาได้ในประเทศทั้งสิ้น ขั้นตอนการสร้างเรือใบมดตามแบบของพระองค์ท่าน มีขั้นตอนหลัก ๔ ขั้นตอน คือ
๑. เปลือกเรือทำด้วยไม้ยมหอมหนา ๔ มิลลิเมตร จัดทำข้างขวา ๑ แผ่น ข้างซ้าย ๑ แผ่น รูปแบบและขนาดกำหนดไว้ในแบบแปลนก็จะได้เปลือกเรือตามต้องการ ส่วนนี้ทรงเรียกว่า "ปลาแห้ง"
๒. ประกอบเปลือกเรือหรือปลาแห้งเข้ากับแผ่นปิดท้ายเรือ ขอบด้านล่างของปลาแห้งผูกติดกันด้วยลวด ตามรูที่เจาะไว้ ปลาแห้งก็จะห่อตัวเป็นรูปตัวเรือ แล้วทากาวหยอดทิ้งไว้กาวจะแห้งและติดแน่นแล้ว ตัดลวดที่ผูกไว้ชั่วคราวออก เสริมผ้าใยแก้วทับแนวให้แข็งขึ้น ไม่ต้องสร้างกงเรือ วิธีนี้เป็นวิธีใหม่ที่พระองค์ทรงคิดค้นเพื่อให้เรือแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา
๓. ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น ไม้กระดูกงู ทวนหัวเรือ อะเส ฝักมะขาม เต้ารองรับ เสา ฝากั้นภายในขอบที่นั่ง แล้วทาสีภายในให้ทั่ว ทา ๒ ถึง ๓ เที่ยวเพื่อรักษาเนื้อไม้ไม่ให้น้ำดูดซึมได้ ซึ่งจะทำให้เรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
๔. ปิดแผ่นดาดฟ้าเรือ แล้วขัดแต่งผิวเรือภายนอกให้เรียบ แล้วจึงพ่นสีเรือตามต้องการ เมื่อสีแห้งดีแล้ว จึงเริ่มประกอบอุปกรณ์แล่นใบ เช่น พุกผูกเชือก รอกต่าง ๆ เชือก เสา เพลา ใบ และชุดหางเสือเรือ เป็นอันเสร็จพิธี
เรือใบลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ คือ "เรือโม้ก" (Moke) เป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบให้มีลักษณะผสมระหว่างเรือโอเค และเรือซุปเปอร์มด คือทรงออกแบบให้มีขนาดของลำเรือใหญ่กว่าเรือซุปเปอร์มด โดยให้มีขนาดใกล้เคียงเรือโอเค และใช้อุปกรณ์เสาและใบของเรือโอเค หลังจากทรงออกแบบเรือโม้กแล้ว พระองค์ก็มิได้ทรงออกแบบเรือใบอีก เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
นอกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงออกแบบและทรงต่อเรือใบแล้วยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ พระองค์ได้ทรงเรือใบเวคา ๑ แล่นข้ามอ่าวจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน ถึงอ่าวสัตหีบ ระยะทาง ๖๐ ไมล์ทะเล ทรงใช้เวลาประมาณ ๑๔ ชั่วโมง นับว่าทรงมีพระวิริยะอุตสาหะอย่างสูง นอกจากนี้ ในการแข่งขันกีฬานานาชาติ พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาเรือใบทีมชาติ เข้าร่วมแข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ด้วยพระองค์หนึ่ง ในการแข่งขันครั้งนี้ทรงใช้เรือใบประเภทโอเค ซึ่งทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เองและทรงเป็นผู้ชนะเลิศ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองในวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ ต่อมารัฐบาลได้กำหนดวันนี้ของทุกปีเป็นวันกีฬาแห่งชาติ นอกจากความสนพระราชหฤทัยส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนับสนุนให้กีฬาเรือใบเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สโมสรกรมอู่ทหารเรือสร้างเรือใบมดและเรือซุปเปอร์มดตามแบบของพระองค์จำหน่ายแก่มวลสมาชิกในราคาถูก และทรงตั้งสโมสรเรือใบส่วนพระองค์ชื่อ "สโมสรหมวดเรือใบหลวงจิตรลดา" ในสวนจิตรลดา และมีสโมสรอื่น ๆ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระองค์ ได้แก่ สมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย, สโมสรเรือใบราชวรุณ ที่เมืองพัทยา เป็นต้น
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งประกอบกับทรงมีพระปรีชาสามารถทางการช่าง จึงทำให้ทรงมีผลงานการออกแบบและต่อเรือใบที่ดีเลิศ อีกทั้งทรงพิชิตเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๑๐ ด้วยเรือที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอัจฉริยะทางการช่างอย่างแท้จริง
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในกีฬาเรือใบเป็นอย่างยิ่งประกอบกับทรงมีพระปรีชาสามารถทางการช่าง จึงทำให้ทรงมีผลงานการออกแบบและต่อเรือใบที่ดีเลิศ อีกทั้งทรงพิชิตเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ ณ ประเทศไทย พุทธศักราช ๒๕๑๐ ด้วยเรือที่ทรงต่อขึ้นด้วยพระองค์เอง ดังนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอัจฉริยะทางการช่างอย่างแท้จริง
ทศพิธราชธรรม
ราชธรรม ๑๐ ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม ราชธรรม ๑๐ ประการนี้เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" ดังนี้
1.ทาน – การให้ที่เป็นประโยชน์ ทั้งวัตถุทาน คือ การให้วัตถุสิ่งชอง และธรรมทาน คือ การให้ธรรม โดยการให้ปัญญา ความรู้ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีมากมายจนเหลือที่จะพรรณนาได้สุดสิ้น ครบถ้วนทั้งสองประการ คือ “ธรรมทาน” ซึ่งถือเป็นทานอันเลิศทางพระพุทธศาสนา สามารถแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางจิตใจ ทำให้ใจเป็นสุขและตั้งอยู่ในความดีงาม โดยได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแฝงด้วยคติธรรมเป็นเครื่องเตือนใจในเรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรตามสถานะและวาระโอวาทอยู่เสมอ ในท้องถิ่นที่ต้องการความรู้ ได้พระราชทานความรู้และตรัสแนะนำในสิ่งอันจะทำประโยชน์มาให้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงช่วยดับทุกข์ความเดือดร้อนในจิตใจของประชาชนทั้งมวล
นอกจากธรรมทานแล้ว “อามิสทาน” หรือ “วัตถุทาน” ก็ทรงมีพระเมตตาคุณในพระราชหฤทัยเป็นล้นพ้น ได้พระราชทานพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกายให้แก่พสกนิกรเสมอมา
ในการบำเพ็ญทางบารมีนี้ ได้ทรงบำเพ็ญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสองทุกประการ คือ ทรงบำเพ็ญครบถ้วนตามคุณสมบัติของทาน ๓ ประการ ได้แก่ คุณสมบัติของทานประการที่หนึ่ง คือ การพระราชทานให้แก่บุคคลที่สมควรได้รับการอนุเคราะห์โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติหรือศาสนา คุณสมบัติของทานประการที่สอง คือ ถึงพร้อมด้วยเจตนาโดยทรงมีพระเมตตาคุณเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัยทั้งก่อนการพระราชทาน ขณะพระราชทาน และหลังการพระราชทานแล้ว คุณสมบัติประการที่สาม คือ วัตถุที่พระราชทานนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ราษฎรผู้รับพระราชทาน ให้พ้นจากการขาดแคลนได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
นอกจากธรรมทานแล้ว “อามิสทาน” หรือ “วัตถุทาน” ก็ทรงมีพระเมตตาคุณในพระราชหฤทัยเป็นล้นพ้น ได้พระราชทานพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เพื่อแก้ความทุกข์ยากขาดแคลนทางกายให้แก่พสกนิกรเสมอมา
ในการบำเพ็ญทางบารมีนี้ ได้ทรงบำเพ็ญตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสองทุกประการ คือ ทรงบำเพ็ญครบถ้วนตามคุณสมบัติของทาน ๓ ประการ ได้แก่ คุณสมบัติของทานประการที่หนึ่ง คือ การพระราชทานให้แก่บุคคลที่สมควรได้รับการอนุเคราะห์โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติหรือศาสนา คุณสมบัติของทานประการที่สอง คือ ถึงพร้อมด้วยเจตนาโดยทรงมีพระเมตตาคุณเปี่ยมล้นในพระราชหฤทัยทั้งก่อนการพระราชทาน ขณะพระราชทาน และหลังการพระราชทานแล้ว คุณสมบัติประการที่สาม คือ วัตถุที่พระราชทานนั้นล้วนเป็นประโยชน์แก่ราษฎรผู้รับพระราชทาน ให้พ้นจากการขาดแคลนได้อย่างไม่มีข้อสงสัย
นอกจากนี้ยังทรงบำเพ็ญทานให้เป็นบุญตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ คือ บำเพ็ญให้เป็นเครื่องชำระกิเลสอันมีความละโมบ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น “สวนหลวง ร.๙“ ซึ่งชาวไทยร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นราชสักการะ ก็มิได้ทรงสงวนไว้สำหรับพระองค์แต่ได้พระราชทานให้เป็นสาธารณสถาน เพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงชนชาวไทยทั้งมวล
ส่วนโครงการหลวง โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่มีอยู่นับพันโครงการทั่วประเทศ รวมทั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นในภาคต่าง ๆ เพื่อศึกษาพื้นที่และวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชผลให้เหมาะแก่ท้องถิ่น อันเป็นการแก้ไขต้นเหตุแห่งปัญหาเพื่อพัฒนาประเทศให้ได้ผลนั้น จัดเป็นการบำเพ็ญทานให้เป็นกุศล คือ เป็นกิจของคนดีคนมีปัญญา ถูกกาลสมัย เหมาะแก่ความต้องการของผู้รับ ไม่ทำให้พระองค์หรือผู้ใดเดือดร้อน การบำเพ็ญทานให้เป็นกุศลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงยังผลให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากัน
ส่วนโครงการหลวง โครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่มีอยู่นับพันโครงการทั่วประเทศ รวมทั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งโปรดให้ตั้งขึ้นในภาคต่าง ๆ เพื่อศึกษาพื้นที่และวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชผลให้เหมาะแก่ท้องถิ่น อันเป็นการแก้ไขต้นเหตุแห่งปัญหาเพื่อพัฒนาประเทศให้ได้ผลนั้น จัดเป็นการบำเพ็ญทานให้เป็นกุศล คือ เป็นกิจของคนดีคนมีปัญญา ถูกกาลสมัย เหมาะแก่ความต้องการของผู้รับ ไม่ทำให้พระองค์หรือผู้ใดเดือดร้อน การบำเพ็ญทานให้เป็นกุศลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงยังผลให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากัน
2.ศีล – ความประพฤติดีงาม ทั้งกาย วาจา เว้นจากการประพฤติชั่ว ทุจริต ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมาย จารีตประเพณีของบ้านเมือง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ตลอดมาว่า ทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล และทรงมีน้ำพระทัยนับถือพระพุทธศาสนาโดยบริสุทธิ์ ดังจะเห็นได้จากการเสด็จออกทรงผนวชรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จมาประทับรักษาศีลตามพุทธบัญญัติ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยประทับ ณ "พระตำหนักปั้นหย่า" แล้วจึงเสด็จมาประทับ ณ"พระตำหนักทรงพรต" ตามขัตติยราชประเพณี แม้เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ยังคงเสด็จมาประทับนั่งสมาธิกรรมฐานเป็นครั้งคราว ณ พระตำหนักทรงพรตนี้
ตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ทรงดำรงพระองค์ได้งดงามบริสุทธิ์ สมควรแก่การเป็นพุทธสาวก จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พสกนิกรโดยทั่วหน้า
เมื่อทรงลาผนวชมาอยู่พระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงประพฤติอยู่ในศีลโดยบริสุทธิ์ กล่าวคือ ทรงประพฤติพระราชจริยาในทางพระวรกายและในทางพระวาจาให้สะอาดงดงามถูกต้องอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นศีลในการปกครอง หรือศีลในทางศาสนาก็ตาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ตลอดมาว่า ทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล และทรงมีน้ำพระทัยนับถือพระพุทธศาสนาโดยบริสุทธิ์ ดังจะเห็นได้จากการเสด็จออกทรงผนวชรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเมื่อทรงผนวชแล้วได้เสด็จมาประทับรักษาศีลตามพุทธบัญญัติ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยประทับ ณ "พระตำหนักปั้นหย่า" แล้วจึงเสด็จมาประทับ ณ"พระตำหนักทรงพรต" ตามขัตติยราชประเพณี แม้เมื่อทรงลาผนวชแล้ว พระองค์ยังคงเสด็จมาประทับนั่งสมาธิกรรมฐานเป็นครั้งคราว ณ พระตำหนักทรงพรตนี้
ตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ทรงดำรงพระองค์ได้งดงามบริสุทธิ์ สมควรแก่การเป็นพุทธสาวก จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา แก่พสกนิกรโดยทั่วหน้า
เมื่อทรงลาผนวชมาอยู่พระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงประพฤติอยู่ในศีลโดยบริสุทธิ์ กล่าวคือ ทรงประพฤติพระราชจริยาในทางพระวรกายและในทางพระวาจาให้สะอาดงดงามถูกต้องอยู่เป็นนิจ ไม่เคยบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นศีลในการปกครอง หรือศีลในทางศาสนาก็ตาม
ในด้านศีลในการปกครอง คือ การประพฤติตามกฎหมายและจารีตประเพณีอันดีงามนั้น ไม่เคยปรากฎเลยว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชอำนาจของพระองค์เหนือกฎหมาย และไม่เคยมีแม้แต่สักครั้งเดียวที่จะทรงละทิ้งจารีตประเพณีอันดีงามของชาติและของพระราชวงศ์ พระเกียรติคุณในข้อนี้เป็นที่ซึมซาบในใจของชาวไทยเป็นอย่างดี นับจากกาลเวลาที่ล่วงผ่านมาตราบจนถึงทุกวันนี้
ส่วนศีลในทางศาสนา อย่างน้อยคือศีลห้าอันเป็นศีลหรือกฎหมายที่ใช้ในการปกครองแผ่นดินมาตั้งแต่อดีตก่อนพุทธกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาอย่างเคร่งครัด และทรงสนับสนุนให้พสกนิกรของพระองค์สมาทานรักษาเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ที่มิได้นับถือพุทธศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนให้ยึดมั่นตามคำสอนแห่งศาสนาอันตนศรัทธา ด้วยทรงตระหนักว่าทุกศาสนามีหลักคำสอนที่นำไปสู่การประพฤติดี ศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันของชนหมู่มาก แม้บัดนี้ในการปกครองจะมีกฎหมายอยู่แล้วก็ยังต้องอาศัยศาสนาเป็นเครื่องอุปการะ ด้วยกฎหมายบังคับได้เพียงแค่กาย ส่วนศาสนาสามารถเข้าถึงจิตใจ น้อมนำไปปฏิบัติตามโดยไม่ต้องบังคับ
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยกฎหมายและศาสนา ประกอบกับการที่ทรงสมาทานศีลอย่างเคร่งครัดดังปรากฎในที่ทุกสถาน ชาวไทยจึงมีความสุขสงบและวัฒนาด้วยศีลบารมีแห่งพระองค์
การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองบ้านเมืองด้วยกฎหมายและศาสนา ประกอบกับการที่ทรงสมาทานศีลอย่างเคร่งครัดดังปรากฎในที่ทุกสถาน ชาวไทยจึงมีความสุขสงบและวัฒนาด้วยศีลบารมีแห่งพระองค์
3.บริจาค – พึงสละเพื่อประโยชน์ที่ใหญ่กว่า เป็นการเสียสละประโยชน์ หรือความสุขส่วนตน และประพฤติปฏิบัติเพื่อมุ่งประโยชน์สุขของคนหมู่มาก เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้นำ ในการดำเนินชีวิต เพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง
ในด้านการบริจาค ซึ่งหมายถึงการเสียสละสิ่งที่ไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยกว่า เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์ใหญ่ยิ่งกว่านั้น ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือประโยชน์และความเจริญของชาติ ศาสนา รวมทั้งประโยชน์สุขของพสกนิกร สำคัญยิ่งกว่าพระองค์เอง พระราชกรณียกิจนานัปการจึงเป็นไปเพื่อความวัฒนา และประโยชน์สุขของชาวไทยและสถาบันดังกล่าว
ด้านการศาสนา ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภกศาสนาต่าง ๆ อันมีในประเทศไทย และได้พระราชทานทรัพย์เพื่อทะนุบำรุงไปเป็นจำนวนมาก โดยพระพุทธศาสนานั้นทรงมีคุณูปการเป็นอเนกอนันต์ ทั้งในการบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชียสถาน อันมีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นต้น การสร้างถาวรวัตถุ เช่น "พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร." และ "พระพุทธนวราชบพิตร"เป็นตัวอย่าง โดยเฉพาะพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเสด็จไปพระราชทานด้วยพระองค์เองแก่ทุกจังหวัดทั่วประเทศนั้น ได้ทรงบรรจุที่ฐานด้วยพระพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั้งในพระองค์และจากจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังทรงบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านอื่น ๆ อีกนานัปการ ด้วยศรัทธาและปริจาคะของพระองค์เช่นนี้ จึงไม่น่าสงสัยที่พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองจนประเทศไทยกลายเป็นแหล่งศึกษาพระธรรม ของชาวต่างประเทศและเป็นแหล่งส่งพระธรรมทูตไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่าง ๆ
ในด้านการสงเคราะห์ ได้ทรงเสียสละพระราชทรัพย์และสิ่งของจำนวนมากมายจนสุดที่จะประมาณได้ เพื่อดับความทุกข์ยากของพสกนิกรในยามประสบภัยพิบัติและในถิ่นทุรกันดาร
ทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย โดยโปรดให้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนในถิ่นยากจนต่าง ๆ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และทุนอานันทมหิดลเพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น
ทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อพัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนไทย โดยโปรดให้มีโครงการจัดตั้งโรงเรียนในถิ่นยากจนต่าง ๆ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และทุนอานันทมหิดลเพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น
ทรงสละพระราชทรัพย์นับจำนวนไม่น้อย ในการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่มูลนิธิและสาธารณสถานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของชาวไทย
ทรงเสียสละพระราชทานที่นาของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่ ให้เข้าอยู่ในโครงการปฏิรูปที่ดิน เมื่อปี ๒๕๑๘ เพื่อแบ่งปันที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่ยากจน
ทรงเสียสละพระราชทานที่นาของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในจังหวัดต่าง ๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่ ให้เข้าอยู่ในโครงการปฏิรูปที่ดิน เมื่อปี ๒๕๑๘ เพื่อแบ่งปันที่ทำกินให้แก่เกษตรกรที่ยากจน
การที่ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ วัตถุสิ่งของและที่ดินจำนวนมหาศาล รวมทั้งการที่ทรงเสียสละปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งนอกและในประเทศ พระราชภารกิจในโครงการพระราชดำรินับพัน ๆ โครงการทั่วประเทศนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดในความเสียสละอันใหญ่หลวงของพระองค์ ด้วยทรงเสียสละเวลา พระปรีชาสามารถ และความสำราญพระราชหฤทัยทั้งมวล ทรงยอมรับความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทุกประการเพื่อพสกนิกร อย่างไม่มีประมุขประเทศใดในขณะนี้ จะเสียสละได้เทียบเท่าที่พระองค์ทรงเสียสละให้แก่พสกนิกรไทยมาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า ๔๑ ปี
หมายเหตุ ผงศักดิ์สิทธิ์ในพระองค์ ได้แก่
๑. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระพุทธปฏิมากรตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้ ๒. เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง ๓. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ใรพระราชพิธีฉัตรมงคล ๔. สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ๕. ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
ผงศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ได้แก่วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด อันได้แก่ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถานเปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงรูปหน้าที่บูชา และน้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
๑. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระพุทธปฏิมากรตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมไว้ ๒. เส้นพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง ๓. ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ใรพระราชพิธีฉัตรมงคล ๔. สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ๕. ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง
ผงศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่าง ๆ ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร ได้แก่วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด อันได้แก่ดินหรือตะไคร่น้ำแห้งจากปูชนียสถานเปลวทองคำปิดพระพุทธรูป ผงรูปหน้าที่บูชา และน้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)
4.อาชชวะ – ความซื่อตรง ไม่ประพฤติหลวกลวงหรือหลีกเลี่ยง แอบแฝง คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่ ถ้าปฏิบัติไม่ตรงกันในงานตามหน้าที่ ไม่ซื่อตรงต่อกันและกัน จะเกิดความแตกร้าว อยู่เป็นสังคมที่สงบสุขไม่ได้
อันทศพิธราชธรรมข้อที่สี่ คือ อาชชวะ หรือความซื่อตรงนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติอยู่นิจ สำหรับผู้ที่มีอายุคงจะจำกันได้ดีว่าหลังจากที่ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นวันกำหนดเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อในต่างประเทศ ระหว่างประทับรถพระที่นั่งเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปขึ้นเครื่องบินนั้น ได้มีเสียงร้องมาจากกลุ่มพสกนิกรที่เฝ้าส่งเสด็จว่า "อย่าทิ้งประชาชน" และได้มีพระราชดำรัสตอบในพระราชหฤทัยว่า "เราจะไม่ทิ้งประชาชน ถ้าประชาชนไม่ทิ้งเรา" การตั้งพระราชหฤทัยดังนี้เสมือนเป็นการพระราชทานสัจจะ ว่าจะทรงเป็นร่มบรมโพธิสมภารของพสกนิกรตลอดไป
อันทศพิธราชธรรมข้อที่สี่ คือ อาชชวะ หรือความซื่อตรงนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติอยู่นิจ สำหรับผู้ที่มีอายุคงจะจำกันได้ดีว่าหลังจากที่ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ในวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ อันเป็นวันกำหนดเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อในต่างประเทศ ระหว่างประทับรถพระที่นั่งเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปขึ้นเครื่องบินนั้น ได้มีเสียงร้องมาจากกลุ่มพสกนิกรที่เฝ้าส่งเสด็จว่า "อย่าทิ้งประชาชน" และได้มีพระราชดำรัสตอบในพระราชหฤทัยว่า "เราจะไม่ทิ้งประชาชน ถ้าประชาชนไม่ทิ้งเรา" การตั้งพระราชหฤทัยดังนี้เสมือนเป็นการพระราชทานสัจจะ ว่าจะทรงเป็นร่มบรมโพธิสมภารของพสกนิกรตลอดไป
ครั้นต่อมาในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นวันที่ทรงกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มีพระปฐมบรมราชโองการแก่พสกนิกรทั่วประเทศว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" วันเวลาที่ล่วงผ่านไปเนิ่นนานจากวันนั้นถึงวันนี้ ๔๑ ปีเศษแล้ว ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรักษาสัจจะที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรทั้งสองประการ มาอย่างสมบูรณ์สม่ำเสมอ พระองค์ไม่เคยทรงทอดทิ้งพสกนิกร ด้วยทรงถือเอาความทุกข์เดือดร้อนของพสกนิกรเป็นความทุกข์เดือดร้อนของพระองค์เอง เหตุนี้เมื่อเกิดความเดือดร้อนหรือภัยพิบัติในส่วนใดของประเทศ พระองค์จะเสด็จฝ่าไป ไม่ว่าระยะทางจะใกล้ไกล ทุรกันดารเพียงใด แดดจะแผดกล้าร้อนแรง หนทางจะคดเคี้ยวข้ามขุนเขา พงไพรจะรกเรื้อแฉะชื้นเต็มไปด้วยตัวทาก ฝนจะตกกระหน่ำจนเหน็บหนาว น้ำจะท่วมเจิ่งนอง พระองค์ก็มิได้ทรงย่อท้อที่จะเสด็จไปประทับเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรผู้ทุกข์ยาก เพื่อทรงดับความเดือดร้อนให้กลับกลายเป็นความร่มเย็น
นอกจากนี้ยังทรงครองแผ่นดินด้วยธรรมานุภาพ ไม่ว่าการสิ่งใดอันจะยังความทุกข์สงบมาสู่พสกนิกร พระองค์จะทรงปฏิบัติ และการสิ่งใดที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรประพฤติปฏิบัติตาม จะพระราชทานกระแสพระราชดำรัสชี้แจงถึงเหตุและผลให้เข้าใจ พสกนิกรผู้ปฏิบัติจึงปฏิบัติด้วยเห็นประโยชน์แห่งผลของการปฏิบัตินั้น ปฏิบัติด้วยความเต็มใจและด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ มิใช่ด้วยความกลัวเกรงพระบรมเดชานุภาพ การครองแผ่นดินโดยธรรมของพระองค์จึงยังประโยชน์สุขมาสู่มหาชนชาวสยาม สมดังพระราชปณิธาน
คงไม่มีความรู้สึกอันใดที่จะวาบหวานและซาบซึ้งใจชาวไทย ยิ่งไปกว่าความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระผู้ทรงมีพระราชอัธยาศัยเปี่ยมไปด้วยอาชชวะคือความซื่อตรงต่อพสกนิกรและประเทศชาติ
คงไม่มีความรู้สึกอันใดที่จะวาบหวานและซาบซึ้งใจชาวไทย ยิ่งไปกว่าความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ พระผู้ทรงมีพระราชอัธยาศัยเปี่ยมไปด้วยอาชชวะคือความซื่อตรงต่อพสกนิกรและประเทศชาติ
5.มัททวะ – ความอ่อนโยนทั้งกายและใจ มีสัมนาคารวะอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ อ่อนโยนทั้งต่อผู้เสมอกว่า และต่ำกว่า วางตนสม่ำเสมอ ไม่กระด้างดูหมิ่นผู้อื่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างที่คนไทยควรเอาเป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ โดยทรงมีพระราชอัธยาศัยสุภาพ อ่อนโยน ทั้งทางพระวรกาย พระวาจา และพระราชหฤทัยอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน
ราชธรรมในข้อมัททวะหรือความอ่อนโยนนี้ เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรมาช้านานแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนเพียบพร้อมทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนโยนในความหมายทางโลกหรือความหมายทางธรรม
ความอ่อนโยนในความหมายทางโลก คือความอ่อนโยนต่อบุคคลอื่นในสังคม อันเป็นมารยาทที่บุคคลในสังคมจะพึงปฏิบัติต่อกันเพื่อผลดีในทางสังคม ความอ่อนโยนในความหมายนี้ย่อมชี้ให้เห็นชัดได้ด้วยพระราชจริยาวัตรต่าง ๆ ในที่ทุกสถาน
ส่วนความอ่อนโยนในทางธรรมนั้น มีความหมายกว้างขวางมาก คือ หมายถึงความสามารถโอนอ่อนผ่อนตาม น้อมไป หรือเปลี่ยนไปในทางแห่งความดี ทำให้เกิดการผสมผสานกันอย่างดีในทางการงานและบุคคลแก่บุคคลทุกระดับชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมะในข้อนี้เป็นอย่างดี และอย่างถ่องถ้วนทุกระดับขั้น
ส่วนความอ่อนโยนในทางธรรมนั้น มีความหมายกว้างขวางมาก คือ หมายถึงความสามารถโอนอ่อนผ่อนตาม น้อมไป หรือเปลี่ยนไปในทางแห่งความดี ทำให้เกิดการผสมผสานกันอย่างดีในทางการงานและบุคคลแก่บุคคลทุกระดับชีวิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าถึงธรรมะในข้อนี้เป็นอย่างดี และอย่างถ่องถ้วนทุกระดับขั้น
ขั้นแรก คือ ความอ่อนโยนทางพระวรกาย ทุกพระอิริยาบถที่ปรากฎไม่มีที่จะแสดงถึงความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือถือพระองค์เลยจะมีก็แต่ความอ่อนโยน นิ่มนวล งดงาม เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์พระราชหฤทัย อันยังความชื่นชมโสมนัส และอบอุ่นใจให้เกิดแก่พสกนิกรโดยทั่วกัน
ขั้นที่สอง คือ ความอ่อนโยนทางพระวาจา อันพึงเห็นได้จากการที่ทรงมีพระราชปฏิสังถารแก่ราษฎรซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่มารับเสด็จอย่างใกล้ชินสนิทสนม ไม่เคยมีพระวาจาที่กระด้าง มีแต่อ่อนโยนสุภาพละมุนละไม แม้จะทรงอยู่ในพระราชฐานะอันสูงสุด กลับทรงแสดงพระองค์เป็นธรรมดาอย่างที่สุด มิได้ทรงวางพระองค์ให้แตกต่างห่างไกลจากประชาชนที่ประกอบด้วยฐานะต่าง ๆ กัน ทางปฏิบัติพระองค์เป็นกันเอง เสมือนบิดาปฏิบัติต่อบุตรอันเป็นที่รัก ตรัสพระวาจาอ่อนหวานอันควรดื่มด่ำไว้ในหัวใจเป็นอย่างยิ่ง
ขั้นที่สาม คือ ความอ่อนโยนนิ่มนวลทางจิตใจและสติปัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุถึงมัททวะในขั้นนี้อย่างแท้จริง และทรงเข้าพระทัยในธรรมะของชีวิตอย่างลึกซึ้งว่า แต่ละชีวิตย่อมมีหน้าที่หลายอย่าง พระองค์จึงทรงวางพระทัยให้อ่อนโยน และทรงวางพระสติปัญญาให้โอนอ่อนไปตามสถานภาพได้อย่างเหมาะสม เช่นในพระราชฐานะต่าง ๆ ในพระบรมราชวงศ์ (ทั้งพระราชฐานะที่เป็นพระราชโอรส เป็นพระอนุชา เป็นพระบิดา เป็นอัยกา ฯลฯ)
ขั้นที่สอง คือ ความอ่อนโยนทางพระวาจา อันพึงเห็นได้จากการที่ทรงมีพระราชปฏิสังถารแก่ราษฎรซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่มารับเสด็จอย่างใกล้ชินสนิทสนม ไม่เคยมีพระวาจาที่กระด้าง มีแต่อ่อนโยนสุภาพละมุนละไม แม้จะทรงอยู่ในพระราชฐานะอันสูงสุด กลับทรงแสดงพระองค์เป็นธรรมดาอย่างที่สุด มิได้ทรงวางพระองค์ให้แตกต่างห่างไกลจากประชาชนที่ประกอบด้วยฐานะต่าง ๆ กัน ทางปฏิบัติพระองค์เป็นกันเอง เสมือนบิดาปฏิบัติต่อบุตรอันเป็นที่รัก ตรัสพระวาจาอ่อนหวานอันควรดื่มด่ำไว้ในหัวใจเป็นอย่างยิ่ง
ขั้นที่สาม คือ ความอ่อนโยนนิ่มนวลทางจิตใจและสติปัญญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุถึงมัททวะในขั้นนี้อย่างแท้จริง และทรงเข้าพระทัยในธรรมะของชีวิตอย่างลึกซึ้งว่า แต่ละชีวิตย่อมมีหน้าที่หลายอย่าง พระองค์จึงทรงวางพระทัยให้อ่อนโยน และทรงวางพระสติปัญญาให้โอนอ่อนไปตามสถานภาพได้อย่างเหมาะสม เช่นในพระราชฐานะต่าง ๆ ในพระบรมราชวงศ์ (ทั้งพระราชฐานะที่เป็นพระราชโอรส เป็นพระอนุชา เป็นพระบิดา เป็นอัยกา ฯลฯ)
ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมแด่ผู้เจริญโดยวัยและเจริญโดยคุณ และมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนต่อบุคคลที่เสมอพระองค์และต่ำกว่า ไม่เคยทรงดูหมิ่น การที่ทรงวางพระองค์เช่นนี้จึงก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่บ้านเมือง และความปิติศรัทธาแก่ชาวไทยอย่างไม่มีอะไรจะเปรียบ
6.ตบะ – การบำเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง การตั้งใจทำหน้าที่ด้วยความเพียร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระวิริยะ ความเพียรอันแรงกล้า ในอันที่จะสร้างความสงบสุข ร่มเย็นแก่พสกนิกรของพระองค์ หากเราคนไทยจักปฏิบัติตนได้ตามเบื้องพระยุคลบาทสักเพียงนิด ก็จะช่วยเสริมสร้างให้ประเทศชาติมั่นคง
ราชธรรมข้อที่หก คือ ตบะ หรือความเพียร เป็นราชธรรมที่มีการตีความหมายกันไว้หลายประการ แต่ไม่ว่าจะตีความ
ราชธรรมข้อที่หก คือ ตบะ หรือความเพียร เป็นราชธรรมที่มีการตีความหมายกันไว้หลายประการ แต่ไม่ว่าจะตีความ
ตบะในความหมายหนึ่งคือความเพียรเป็นเครื่องแผดเผาความเกียรคร้าน โดยความหมายนี้จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดที่จะประทับอยู่เฉย ทรงพอพระราชหฤทัยในการเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่าง ๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและหมายโดยนัยอย่างใด การดำรงพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ยังคงอยู่ในขอบข่ายของพระมหากษัตริยาธิราชผู้ทรงบำเพ็ญตบะบารมีอยู่นั่นเองห่างไกล ขวางกั้นด้วยผืนน้ำกว้างใหญ่ ป่าทึบ หรือเขาสูงสุดสายตาเพียงเพื่อให้ทรงทราบถึงความทุกข์สุขของราษฎร ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง เมื่อทรงทราบแล้วก็มิได้ทรงนิ่มนอนพระราชหฤทัย แต่ได้ทรงมีพระราชดำริริเริ่มสิ่งต่าง ๆ เพื่อขจัดความทุกข์เดือดร้อนของราษฎรทั้งในด้านการอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย การศึกษาและอื่น ๆ ด้วยพระราชอุตสาหะ วิริยภาพเช่นนี้ พระองค์จึงทรงขจัดความขัดข้องความยากจนขัดสนทั้งหลายให้แก่ราษฎรได้โดยทั่วกัน
ตบะ ในอีกความหมายหนึ่ง หมายถึงความตั้งใจกำจัดความเกียจคร้านและการกระทำผิดหน้าที่ มุ่งทำกิจอันเป็นหน้าที่ที่พึงกระทำ ซึ่งเป็นกิจที่ดีที่ชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญตบะในความหมายนี้ได้อย่างครบถ้วนเช่นเดียวกัน ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช ทรงมีหน้าที่ปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ได้รับความร่มเย็น พระองค์ได้ทรงตั้งพระราชอุตสาหะวิริยภาพ ประกอบด้วยปัญโญภาส ปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นไปด้วยดีไม่มีข้อผิดพลาด ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรโดยไม่หยุดยั้ง โครงการพระราชดำริของพระองค์จึงมีนับพัน ๆ โครงการไม่เพียงเท่านั้น พระองค์ยังทรงติดตามกิจการที่ได้ทรงปฏิบัติหรือโปรดให้ปฏิบัติโดยใกล้ชิด โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าจะทรงลำบากยากพระวรกายเพียงไร แต่ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ จึงทรงพอพระราชหฤทัยที่จะทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพโดยไม่มีวันว่างเว้น และในวันหนึ่ง ๆ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้มายมายจนไม่น่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะสำหรับบุคคลโดยทั่วไปหากจะเป็นไปได้เช่นนั้น ก็คงต้องใช้เวลาหลายวันมิใช่วันเดียว ดังเช่นที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ
ตบะ ในความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ ความเพียรในการละอกุศลกรรม เพียรอบรมกุศลบุญต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้น โดยความหมายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเพียบพร้อมด้วยพระราชวิริยภาพที่จะทรงเอาชนะความชั่วต่าง ๆ ด้วยความดี ทรงมีพระตบะเดชะ เป็นที่เทิดทูนยำเกรงการสมาทานกุศลวัตรของพระองค์ จึงสามารถเผาผลาญกำจัดอกุศลกรรมให้เสื่อมสูญได้โดยสิ้นเชิง อาณาประชาราษฎร์ผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร จึงมีแต่ความสุขสวัสดิ์วัฒนาพ้นจากความเดือดร้อนนานาประการด้วยตบะเดชะบารมีแห่งพระองค์
7.อักโกธะ – ความไม่โกรธ ไม่มุ่งร้ายคนอื่น แม้จะต้องลงโทษผู้ทำผิด ก็ทำตามเหตุผล เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติ ไม่ทำด้วยอำนาจความโกรธ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธให้เป็นที่ประจักษ์ใจทั้งในหมู่ประชาชนชาวไทย และในนานาประเทศมาเป็นเวลาช้านาน แม้มีเหตุอันควรให้ทรงพระพิโรธยังทรงข่มพระทัยให้สงบได้โดยสิ้นเชิง อย่างที่ปุถุชนน้อยคนนักจะทำได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๐๕ และ ๒๕๑๐ เป็นต้น ซึ่งยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ตามเสด็จทุกคน
วันนั้น…วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๕ เป็นวันแรกที่ทรงย่างพระบาทสู่ดินแดนออสเตรเลีย พร้อมด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการเสด็จเยือนมาสามประเทศแล้ว จากรถพระที่นั่ง…ขณะเสด็จไปยังที่ประทับพระองค์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็น ชายคนหนึ่งชูป้ายเป็นภาษาไทยขับไล่พระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้ทรงหวั่นไหวด้วยทรงพิจารณาว่าเป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว มิใช่ประชาชนทั้งประเทศ จึงทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้แก่ประชาชนอื่น ๆ ที่โห่ร้องรับเสด็จไปตลอดทาง
ต่อมาที่นครซิคนีย์เหตุการณ์อย่างเดียวกันได้เกิดขึ้นอีก โดยกลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิการเมืองที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลไทย เริ่มจากการชูป้ายข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย ในทันทีที่รถพระที่นั่งแล่นเข้าสู่ศาลากลางเทศบาล ซึ่งจัดไว้เพื่อรับเสด็จ ติดตามด้วยใบปลิวมีข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย และกล่าวหารัฐบาลไทยว่าเป็นฆาตกรฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใบปลิวนี้โปรยลงมารอบพระองค์ขณะที่ตรัสตอบขอบใจนายกเทศมนตรี และประชาชนกลางเวที แต่พระองค์ยังคงตรัสต่อไป เสมือนมิได้มีสิ่งใดเกิดขึ้น
ต่อมาที่นครซิคนีย์เหตุการณ์อย่างเดียวกันได้เกิดขึ้นอีก โดยกลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุนจากลัทธิการเมืองที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลไทย เริ่มจากการชูป้ายข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย ในทันทีที่รถพระที่นั่งแล่นเข้าสู่ศาลากลางเทศบาล ซึ่งจัดไว้เพื่อรับเสด็จ ติดตามด้วยใบปลิวมีข้อความขับไล่ผู้เผด็จการเมืองไทย และกล่าวหารัฐบาลไทยว่าเป็นฆาตกรฆ่าผู้บริสุทธิ์ ใบปลิวนี้โปรยลงมารอบพระองค์ขณะที่ตรัสตอบขอบใจนายกเทศมนตรี และประชาชนกลางเวที แต่พระองค์ยังคงตรัสต่อไป เสมือนมิได้มีสิ่งใดเกิดขึ้น
เพียงเท่านั้นยังไม่พอ เมื่อเสด็จต่อไปยังเมืองเมลเบิร์นเพื่อทรงรับการถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พระองค์ยังทรงถูกโห่ฮาป่าจากกลุ่มนักศึกษาซึ่งไม่สุภาพ ทั้งท่าทางและการแต่งกาย และเมื่ออธิการบดีกล่าวสดุดีพระเกียรติคุณของพระองค์ นักศึกษากลุ่มเดิมได้โห่ฮาป่ากลบเสียงสดุดีเสีย แม้เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเพื่อตรัสตอบ คนกลุ่มนี้ยังโห่ฮาป่าขึ้นอีก แต่พระองค์คงมีสีพระพักตร์เรียบเฉย ซ้ำยังทรงหันมาเปิดพระมาลาที่ทรงคู่กับฉลองพระองค์ครุยโค้งคำนับคนกลุ่มนั้นอย่างสุภาพ พร้อมกับตรัสด้วยพระสุรเสียงที่ราบเรียบมีใจความว่า “ขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอันมากในการต้อนรับอันอบอุ่นและสุภาพเรียบร้อย ที่ท่านแสดงต่อแขกเมืองของท่าน” เสียงฮาป่าเงียบลงทันที นักศึกษากลุ่มนี้ได้พ่ายแพ้แก่อักโกธะ หรือความไม่โกรธของพระองค์โดยสิ้นเชิง…ครั้นถึงเวลาเสด็จกลับ ทุกคนในกลุ่มพร้อมใจกันยืนคอยส่งเสด็จด้วยสีหน้าเจื่อน ๆ บ้าง ยิ้มบ้าง โบกมือและปรบมือให้บ้างจนรถพระที่นั่งแล่นไปจนลับตา
ต่อมาในปี ๒๕๑๐ อันเป็นปีที่ชาวอเมริกันเดินขบวนและหนังสือพิมพ์ลงข่าวโจมตีรัฐบาล เรื่องการส่งทหารมาช่วยรบและเสียชีวิตมากมายในเวียนนามใต้ ในภาวะอันวิกฤตนี้ทรงเกรงรัฐบาลอเมริกันจะล้มเลิกนโยบาลช่วยเหลือเอเชียอาคเนย์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของไทย จึงเสด็จไปทรงเจริญสัมพันธไมตรี
ต่อมาในปี ๒๕๑๐ อันเป็นปีที่ชาวอเมริกันเดินขบวนและหนังสือพิมพ์ลงข่าวโจมตีรัฐบาล เรื่องการส่งทหารมาช่วยรบและเสียชีวิตมากมายในเวียนนามใต้ ในภาวะอันวิกฤตนี้ทรงเกรงรัฐบาลอเมริกันจะล้มเลิกนโยบาลช่วยเหลือเอเชียอาคเนย์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของไทย จึงเสด็จไปทรงเจริญสัมพันธไมตรี
ในการนี้จะทรงได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยวิลเลียมส์ ก่อนวันแจกปริญญาทรงทราบว่าบทความที่ได้รับรางวัลซึ่งจะอ่านในวันแจกปริญญา เป็นบทความคัดค้านนโยบาลของรัฐบาล ในการส่งทหารมาช่วยรบในเวียนนาม นอกจากนี้กลุ่มนักศึกษายังเตรียมแจกใบปลิว และเตรียมเดินขบวนออกจากพิธีถวายปริญญาแก่พระองค์ด้วย…และแล้ววันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๐ วันอันน่าระทึกใจก็มาถึง เมื่อนักศึกษาอ่านบทความที่ได้รับรางวัลจบลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรบพระหัตถ์ให้กับการใช้ภาษาที่ถูกต้องและไพเราะ แม้จะไม่ทรงเห็นด้วยกับเนื้อหาก็ตาม จากนั้นพระองค์จึงตรัสขอบใจมหาวิทยาลัย และทรงเตือนสตินักศึกษา “ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อนที่จะมั่นใจเชื่ออะไรลงไป มิใช่สักแต่ว่าเชื่อเพราะมีผู้บัญญัติไว้” พระราชดำรัสนี้เป็นที่ชื่นชอบมากถึงกับทุกคนลุกขึ้นยืน และปรบมือถวายเป็นเวลานาน และเหตุการณ์ร้ายที่เกรงกลัวก็มิได้เกิดขึ้น
การที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริยาธิราชผู้ทรงบำเพ็ญอักโกธะบารมี หรือความไม่โกรธได้อย่างมั่นคงเช่นนี้ จึงทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับนานาประเทศไว้ได้ตลอดมา พระเกียรติคุณของพระองค์ในข้อนี้จึงเป็นที่ชื่นชมของชาวไทยและชาวต่างประเทศยิ่งนัก
8.อวิหิงสา – ความไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นเครื่องแสดงออก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระเมตตากรุณา ไม่ทรงเบียดเบียนผู้ใด
จากอดีตเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน (๒๕๓๐) นับเป็นเวลาเนิ่นนานไม่น้อยกว่า ๔๑ ปี ที่ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทยได้รับความร่มเย็นมีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบ ภายใต้เบื้องพระยุคลบาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงบำเพ็ญอวิหิงสาบารมี คือ ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นลำบาก ไม่ก่อทุกข์ยากให้แก่ผู้ใดแม้จนถึงสรรพสัตว์ ด้วยเห็นเป็นของสนุกเพราะอำนาจแห่งโมหะหรือความหลง ไม่ทำร้ายรังแกมนุษย์และสัตว์เล่นเพื่อความบันเทิงใจแห่งตน
ในการบำเพ็ญอวิหิงสาบารมีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญได้โดยบริสุทธิ์ทุกสถาน ไม่ว่าจะเป็นทรงพระวรกาย พระวาจา พระราชหฤทัย และไม่ว่าจะเป็นการอันทรงปฏิบัติต่อมวลมนุษย์หรือสรรพสัตว์ใด ๆ แม้การนั้นจะยังความสะดวกสบายมาสู่พระองค์ หากเป็นความยากลำบากแก่ทวยราษฎร์แล้ว พระองค์จะทรงงดเว้นเสีย โดยทรงยอมลำบากตรากตรำพระวรกายของพระองค์เองแทน ดังเหตุการณ์อันเป็นที่เปิดเผยจากวงการตำรวจจราจรเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๐ ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าตามปกติเวลาที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ใดเจ้าหน้าที่จราจรจะปิดถนนตลอดเส้นทางนั้นทุกครั้ง จึงทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า ไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ปิดการจราจรเวลาเสด็จพระราชดำเนินไม่ว่าที่ใด หากการจราจรเกิดติดขัดก็มีพระมหากรุณาธิคุณที่จะทรงร่วมอยู่ในสภาวะแห่งการติดขัดนั้น เช่นเดียวกับพสกนิกรของพระองค์
การบำเพ็ญอวิหิงสาอย่างยิ่งยวดของพระองค์นี้ แม้จะหยิบยกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดเพียงประการเดียวจากพระราชกรณียกิจอันมากมาย คงเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่าไม่มีพระมหากษัตริยาธิราช หรือประมุขประเทศใดในโลกขณะนี้ที่จะเสมอเหมือนพระองค์
ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสัตว์ พระองค์ไม่เคยทรงกระทำการใดให้เป็นที่ทุกข์ยากเจ็บปวด ไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียวที่จะเสด็จออกประพาสป่าล่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีก็แต่การพระราชทานชีวิตให้เท่านั้น ในรูปของโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำและอนุรักษ์สัตว์ เช่น โครงการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า เป็นต้น
การบำเพ็ญอวิหิงสาอย่างยิ่งยวดของพระองค์นี้ แม้จะหยิบยกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดเพียงประการเดียวจากพระราชกรณียกิจอันมากมาย คงเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่าไม่มีพระมหากษัตริยาธิราช หรือประมุขประเทศใดในโลกขณะนี้ที่จะเสมอเหมือนพระองค์
ในส่วนที่เกี่ยวกับสรรพสัตว์ พระองค์ไม่เคยทรงกระทำการใดให้เป็นที่ทุกข์ยากเจ็บปวด ไม่เคยมีแม้แต่ครั้งเดียวที่จะเสด็จออกประพาสป่าล่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีก็แต่การพระราชทานชีวิตให้เท่านั้น ในรูปของโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่า อนุรักษ์แหล่งน้ำและอนุรักษ์สัตว์ เช่น โครงการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่า เป็นต้น
การบำเพ็ญอวิหิงสาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแผ่ไพศาลไปทั่วทุกหนแห่ง จึงปกป้องคุ้มครองชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสรรพสัตว์ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินไทย จึงดำรงอยู่ได้ด้วยความสุขสงบและร่มเย็น
9.ขันติ – ความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ทั้งปวง ไม่แสดงกิริยาวาจาตามอำนาจโลภะ โทสะ โมหะ และอดทนต่อทุกขเวทนาต่างๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์
ทรงอดทนต่อโทสะ จากการเบียดเบียนหยามดูหมิ่น ดังเช่น การถูกขับไล่โดยกลุ่มชนที่ไม่หวังดีต่อเมืองไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อปี ๒๕๐๕ เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงมีพระขันติธรรมเป็นยอดเยี่ยมอย่างหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ บางครั้งเป็นเรื่องยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะทรงอดทนได้ แต่พระองค์ยังทรงอดทนรักษาพระราชหฤทัย พระวาจา พระวรกาย และพระอาการ ให้สงบเรียบร้อยงดงามได้ในทุกสถานการณ์
ทรงอดทนต่อโทสะ จากการเบียดเบียนหยามดูหมิ่น ดังเช่น การถูกขับไล่โดยกลุ่มชนที่ไม่หวังดีต่อเมืองไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อปี ๒๕๐๕ เป็นต้น
ทรงอดทนต่อโลภะ คือความอยากได้ทุกประการโดยสิ้นเชิง ดังจะเห็นได้ว่าพระองค์ได้เคยมีพระราชประสงค์สิ่งใดจากผู้ใด แม้สิ่งของที่นำมาถวายหากมากเกินไปก็มิได้ทรงรับ เช่น รัฐบาลในสมัยหนึ่งจะถวายรถพระที่นั่งคันใหญ่เป็นพิเศษเพื่อให้สมพระเกียรติยศ แต่พระองค์กลับมีพระราชดำริว่ารถพระที่นั่งน่าจะเป็นรถคันใหญ่พอประมาณและราคาไม่แพงนัก เพื่อจะได้สงวนเงินไว้พัฒนาประเทศได้อีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังทรงอดทนต่อโมหะ คือความหลง โดยพระองค์มิได้ทรงติดข้องอยู่ในความสุขสำราญและความสะดวกสบายต่าง ๆ อันพึงหาได้ในพระราชฐานะแห่งพระมหากษัตริยาธิราช
ทรงอดทนต่อความทุกขเวทนา ความลำบากตรากตรำพระวรกายต่าง ๆ เพื่อทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่พสกนิกรทุกแห่งหน
ทรงอดทนต่อความหวาดหวั่นภยันตรายต่างๆ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังฮึกเหิมพระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งทหารตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทย โดยทรงมีวิทยุติดพระองค์เพื่อทรงรับฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาทรงสอบถามเหตุการณ์ทางวิทยุอยู่เสมอ และหากทรงว่างจากพระราชภารกิจจะรีบเสด็จไปยังที่เกิดเหตุทันท ีเพื่อทรงสอบถามเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง หากทรงทราบว่ามีทหารตำรวจได้รับบาดเจ็บ จะทรงให้เฮลิคปอเตอร์รับผู้บาดเจ็บไปรักษาพยาบาลทันที ส่วนในที่บางแห่ง เช่นที่กุยบุรี จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ ซึ่งขาดแคลนพาหนะในการตรวจท้องที่ทำให้ทหารตำรวจถูกลอบทำร้ายล้มตายกันเนือง ๆ หลังจากเสด็จไปทรงเยี่ยมทหารตำรวจแล้วทรงเห็นความจำเป็นจึงพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อรถจิ๊ปพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ๖ คัน เพื่อสงวนชีวิตเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไว้
ทรงอดทนต่อความหวาดหวั่นภยันตรายต่างๆ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังฮึกเหิมพระองค์ก็มิได้ทรงทอดทิ้งทหารตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ปกป้องผืนแผ่นดินไทย โดยทรงมีวิทยุติดพระองค์เพื่อทรงรับฟังเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาทรงสอบถามเหตุการณ์ทางวิทยุอยู่เสมอ และหากทรงว่างจากพระราชภารกิจจะรีบเสด็จไปยังที่เกิดเหตุทันท ีเพื่อทรงสอบถามเหตุการณ์ด้วยพระองค์เอง หากทรงทราบว่ามีทหารตำรวจได้รับบาดเจ็บ จะทรงให้เฮลิคปอเตอร์รับผู้บาดเจ็บไปรักษาพยาบาลทันที ส่วนในที่บางแห่ง เช่นที่กุยบุรี จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ ซึ่งขาดแคลนพาหนะในการตรวจท้องที่ทำให้ทหารตำรวจถูกลอบทำร้ายล้มตายกันเนือง ๆ หลังจากเสด็จไปทรงเยี่ยมทหารตำรวจแล้วทรงเห็นความจำเป็นจึงพระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ซื้อรถจิ๊ปพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ ๖ คัน เพื่อสงวนชีวิตเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไว้
ในคราวเกิดเหตุปะทะที่ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน อันขึ้นชื่อว่าเป็นสมรภูมิเลือดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงกลัวเกรงภยันตรายใด ๆ ได้เสด็จขึ้นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปบินสำรวจเหนือจุดซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย ซึ่งเป็นจุดที่เฮลิคอปเตอร์ของทางราชการเคยถูกยิงตกมาแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น ยังทรงให้เฮลิคอปเตอร์รับทหารผู้บาดเจ็บออกมารับการรักษาพยาบาลได้ทันท่วงทีด้วย พระองค์มิได้ทรงหวดหวั่นภยันตรายใด ๆ แม้ในแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการอย่างรุนแรง เช่น ลอบฆ่าข้าราชการและประชาชน (บ้านนาวง อ.เมือง จ.พัทลุง)
และแม้ในขณะที่พายุฝนกระหน่ำอย่างหนัก พระองค์ยังคงเสด็จฝ่าสายฝนไปเพื่อทรงเยี่ยมทหารตำรวจ ในสภาวะอันวิกฤตนั้นด้วยขันติบารมีของพระองค์เช่นนี้ ทำให้ราษฎรไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะทุกข์ยากทุรกันดารหรือตกอยู่ในภยันตรายเพียงใด ยังเกิดความรู้สึกอยู่เสมอว่าเขามิได้ถูกทอดทิ้งให้ว้าเหว่ผจญชะตากรรมอยู่เพียงลำพัง หากยังมีองค์พระประมุขที่จะเสด็จมาประทับเคียงข้าง และแผ่พระบารมีคุ้มครองให้เขารอดพ้นจากภยันตรายทั้งมวล
และแม้ในขณะที่พายุฝนกระหน่ำอย่างหนัก พระองค์ยังคงเสด็จฝ่าสายฝนไปเพื่อทรงเยี่ยมทหารตำรวจ ในสภาวะอันวิกฤตนั้นด้วยขันติบารมีของพระองค์เช่นนี้ ทำให้ราษฎรไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะทุกข์ยากทุรกันดารหรือตกอยู่ในภยันตรายเพียงใด ยังเกิดความรู้สึกอยู่เสมอว่าเขามิได้ถูกทอดทิ้งให้ว้าเหว่ผจญชะตากรรมอยู่เพียงลำพัง หากยังมีองค์พระประมุขที่จะเสด็จมาประทับเคียงข้าง และแผ่พระบารมีคุ้มครองให้เขารอดพ้นจากภยันตรายทั้งมวล
10.อวิโรธนะ – ความไม่ประพฤติผิดธรรม การวางตนเป็นหลัก หนักแน่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว เพราะถ้อยคำ ดี ร้าย สักการะ หรืออิฏฐารมณ์ใดๆ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติตามขัตติยราชประเพณี ราชจรรยานุวัตร และราชธรรมทุกประการ
นับเป็นบุญของชาวไทยเป็นอย่างยิ่งที่ได้อยู่ภายใต้เบื้องพระยุคลบาล แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริยาธิราช ผู้ทรงบำเพ็ญอวิโรธนะคือความเที่ยงธรรมได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง ซึ่งความเที่ยงธรรมในที่นี้ หมายถึงความตรงตามความถูกต้อง หรือความไม่ผิดนั่นเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระองค์ถูกต้องตามขัตติยราชประเพณีทุกประการ ไม่เคยทรงประพฤติผิดจากราชจรรยานุวัตรนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ทรงปฏิบัติพระองค์ได้อย่างงดงามไม่มีความบกพร่องให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศได้เลย
พระองค์ทรงรักษาพระราชหฤทัยได้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงมิได้ทรงหวั่นไหวต่ออำนาจแห่งอคติใด ๆ อันมีความรัก ความชัง ความโกรธ ความกลัว และความหลง เป็นต้น จึงไม่มีอำนาจใดที่อาจน้อมพระองค์ให้ทรงประพฤติทรงปฏิบัติไปในทางที่มัวหมองไม่สมควร หรือคลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ควรอุปถัมภ์ยกย่อง ทรงบำราบคนมีความผิดควรบำราบโดยทรงที่เป็นธรรม และในพระราชฐานะแห่งองค์พระประมุขของชาติไทยในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีพรรคการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน พระองค์ได้ทรงดำริอยู่ในความยุติธรรม ทรงเป็นหลักชัยของพรรคการเมืองทุกพรรค
ในด้านพระราชภารกิจต่างๆ ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่มีผิด ด้วยทรงสดับตรับฟัง ทรงศึกษา ทรงแสวงหาความรู้ความถูกต้องทั้งจากบุคคล ตำรา จากการที่ทรงสอบค้นด้วยพระองค์เอง และทรงนำมาประมวลใคร่ครวญด้วยพระปัญญา ความรู้ที่ทรงได้จึงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งและถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระราชกรณียกิจใด ๆ ที่ทรงมุ่งผลให้บังเกิดเป็นความผาสุกความเจริญแก่พสกนิกรอย่างใด ก็ย่อมสำเร็จเป็นความผาสุกและความเจริญอย่างนั้น แม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องแก้ไขอันเป็นธรรมดาของการทำงานทั้งปวง ก็ทรงปฏิบัติแก้ไขอย่างรอบคอบให้บังเกิดผลดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปด้วยลำดับ พระราชกรณียกิจของพระองค์จึงมีแต่ความไม่ผิด ดังเช่น ในการพัฒนาประเทศทรงพัฒนาอย่างถูกต้อง คือทรงพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประชาชน โดยทรงแนะนำตรัสสอนด้วยพระองค์เองและผ่านทรงโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น
ในด้านพระราชภารกิจต่างๆ ทรงปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไม่มีผิด ด้วยทรงสดับตรับฟัง ทรงศึกษา ทรงแสวงหาความรู้ความถูกต้องทั้งจากบุคคล ตำรา จากการที่ทรงสอบค้นด้วยพระองค์เอง และทรงนำมาประมวลใคร่ครวญด้วยพระปัญญา ความรู้ที่ทรงได้จึงเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งและถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระราชกรณียกิจใด ๆ ที่ทรงมุ่งผลให้บังเกิดเป็นความผาสุกความเจริญแก่พสกนิกรอย่างใด ก็ย่อมสำเร็จเป็นความผาสุกและความเจริญอย่างนั้น แม้ว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างที่จะต้องแก้ไขอันเป็นธรรมดาของการทำงานทั้งปวง ก็ทรงปฏิบัติแก้ไขอย่างรอบคอบให้บังเกิดผลดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปด้วยลำดับ พระราชกรณียกิจของพระองค์จึงมีแต่ความไม่ผิด ดังเช่น ในการพัฒนาประเทศทรงพัฒนาอย่างถูกต้อง คือทรงพัฒนาประเทศไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประชาชน โดยทรงแนะนำตรัสสอนด้วยพระองค์เองและผ่านทรงโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ในการพัฒนาแต่ละท้องถิ่นพระองค์ยังได้ทรงศึกษาถึงภูมิประเทศ ลมฟ้าอากาศ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่และความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นย่อมไม่เหมือนกัน การพัฒนาของพระองค์จึงเป็นการพัฒนาด้วยความเข้าใจ เหมาะสมและเหมาะแก่ความจำเป็นของท้องถิ่นนั้น ๆ การพัฒนาโดยวิธีทางที่ถูกต้องนี้เอง ทำให้การพัฒนาประเทศได้ผลไม่สูญเปล่า สามารถช่วยให้ไพร่ฟ้าหน้าใสได้โดยทั่วหน้ากันสมดังพระราชประสงค์ ทั้งนี้ก็ด้วยการบำเพ็ญอวิโรธนะของพระองค์นี้เอง ทศพิธราชธรรม
หลักการทรงงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่พรั่งพร้อมด้วยทศพิธราชธรรม ทรงตรากตรำพระวรกายเสด็จฯ เยี่ยมเยียนประชาชนในทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ ด้วยพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา พระราชทานพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาราษฎร์ และนำมาซึ่งความผาสุกแก่ประชาชนอย่างแท้จริง โดยได้ประมวลหลักการทรงงานไว้ดังนี้
ทำงานอย่างผู้รู้จริง
ให้ศึกษางานที่จะทำให้ดี อย่าผลีผลาม ความรู้จะหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องขวนขวาย ต้องเก็บบันทึกไว้ แล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ "ความรู้" ต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ต้องรู้หมดและรู้อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งจะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบและครบถ้วน ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องและตรงกับความเป็นจริง เพื่อที่พระองค์จะได้พระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตรง ตามที่ประชาชนต้องการ ซึ่งนั่นก็คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องรู้จริง ศึกษาให้เข้าใจ แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
ให้ศึกษางานที่จะทำให้ดี อย่าผลีผลาม ความรู้จะหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องขวนขวาย ต้องเก็บบันทึกไว้ แล้วนำกลับมาใช้ประโยชน์ "ความรู้" ต้องพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ต้องรู้หมดและรู้อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่งจะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างรอบคอบและครบถ้วน ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องและตรงกับความเป็นจริง เพื่อที่พระองค์จะได้พระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตรง ตามที่ประชาชนต้องการ ซึ่งนั่นก็คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องรู้จริง ศึกษาให้เข้าใจ แล้วจึงลงมือปฏิบัติ
ระเบิดจากข้างใน
คือ การทำสิ่งใดต้องสร้างฐาน ต้องเริ่มจากความพร้อม ความเห็นพ้องต้องกันในกลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยๆ สร้าง ค่อยๆ ก่อ จะมั่นคงถาวร พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ต้องระเบิดจากข้างใน" นั้นหมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้าน ที่ยังไม่มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว
คือ การทำสิ่งใดต้องสร้างฐาน ต้องเริ่มจากความพร้อม ความเห็นพ้องต้องกันในกลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยๆ สร้าง ค่อยๆ ก่อ จะมั่นคงถาวร พระองค์ทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า "ต้องระเบิดจากข้างใน" นั้นหมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชน หมู่บ้าน ที่ยังไม่มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว
อดทน มุ่งมั่น
ให้รู้จักการอดทน ทำจนเป็นนิสัย ไม่ว่าสิ่งดีๆ ที่เข้ามา ทุกข์ที่เข้ามา สุขที่เข้ามา เราก็รับด้วยใจสงบ ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เหมือนดังคำว่า "ธรรมะ" ซึ่งนั่นก็คือ ธรรมชาติ ธรรมดา นอกจากนี้ หากเกิดปัญหา เราก็ทำจิตใจให้รู้สึกท้าทายกับปัญหานั้น เห็นปัญหาแล้วกระโดดเข้าใส่เป็นการท้าทายสติปัญญา อย่ากลัวปัญหา และละลายปัญหาจากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
ให้รู้จักการอดทน ทำจนเป็นนิสัย ไม่ว่าสิ่งดีๆ ที่เข้ามา ทุกข์ที่เข้ามา สุขที่เข้ามา เราก็รับด้วยใจสงบ ไม่ตื่นเต้นหรือกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา เหมือนดังคำว่า "ธรรมะ" ซึ่งนั่นก็คือ ธรรมชาติ ธรรมดา นอกจากนี้ หากเกิดปัญหา เราก็ทำจิตใจให้รู้สึกท้าทายกับปัญหานั้น เห็นปัญหาแล้วกระโดดเข้าใส่เป็นการท้าทายสติปัญญา อย่ากลัวปัญหา และละลายปัญหาจากเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
อ่อนน้อม ถ่อมตน เรียบง่ายและประหยัด
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เช่น นาฬิกาข้อพระกรที่พระองค์ทรงใช้ ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่ทรงเน้นที่ประโยชน์ของการบอกเวลา ทรงอ่อนน้อมถ่อมพระองค์มาก เวลาที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ทรงโน้มพระวรกาย คุกเข่า และประทับพับเพียบเข้าหาประชาชน ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยธรรมชาติ เรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เช่น นาฬิกาข้อพระกรที่พระองค์ทรงใช้ ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่ทรงเน้นที่ประโยชน์ของการบอกเวลา ทรงอ่อนน้อมถ่อมพระองค์มาก เวลาที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ทรงโน้มพระวรกาย คุกเข่า และประทับพับเพียบเข้าหาประชาชน ในการพัฒนาและช่วยเหลือราษฎรทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยธรรมชาติ เรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นมาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากนัก
ซื่อสัตย์ สุจริต กตัญญู
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกตัญญูต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบรมวงศ์มาก ทรงให้ความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์มาก ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าต้องให้มีอันเป็นไป แต่ถ้าไม่ทุจริต สจริตและมีความตั้งใจมุ่งมั่น สร้างความเจริญ ก็ขอต่ออายุให้ถึง ๑๐๐ ปี ...ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย ภายใน ๑๐ ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญต้องยึดความสุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง....
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกตัญญูต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบรมวงศ์มาก ทรงให้ความสำคัญในเรื่องความซื่อสัตย์มาก ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ถ้าทุจริตแม้แต่นิดเดียว ก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไป พูดอย่างนี้หยาบคาย แต่ว่าต้องให้มีอันเป็นไป แต่ถ้าไม่ทุจริต สจริตและมีความตั้งใจมุ่งมั่น สร้างความเจริญ ก็ขอต่ออายุให้ถึง ๑๐๐ ปี ...ความสุจริตจะทำให้ประเทศไทยรอดพ้นอันตราย ภายใน ๑๐ ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญต้องยึดความสุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง....
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเคารพความคิดที่แตกต่าง
ในทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปในพื้นที่ต่างๆ ทรงทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ทุกครั้ง โดยวิธีการของพระองค์นั้นเป็นวิธีที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา โดยจะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่ได้รับจากโครงการพัฒนากับพสกนิกรที่มาเฝ้าฯ ล้อมรอบอยู่ หลังจากนั้นจะทรงถามถึงความต้องการของประชาชน ความสมัครใจและให้ตกลงกันเองในกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์และกลุ่มที่จะต้องเสียสละในขณะนั้นเลย พร้อมทั้งทรงการแผนที่เพื่อตรวจสอบถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงของสภาพภูมิประเทศ และหลังจากนั้น ก็จะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองให้มารับทราบและ ดำเนินการในขั้นต้น ก่อนที่จะพระราชทานให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเชิงบริหาร และวิชาการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการ
"...มีคนบอกว่าโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ ข้อนี้เป็นความคิดที่ผิดหรือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ เมืองไทยไม่เจริญ..."
ในทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปในพื้นที่ต่างๆ ทรงทำประชาพิจารณ์ (Public Hearing) ทุกครั้ง โดยวิธีการของพระองค์นั้นเป็นวิธีที่เรียบง่ายและตรงไปตรงมา โดยจะทรงอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลที่ได้รับจากโครงการพัฒนากับพสกนิกรที่มาเฝ้าฯ ล้อมรอบอยู่ หลังจากนั้นจะทรงถามถึงความต้องการของประชาชน ความสมัครใจและให้ตกลงกันเองในกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์และกลุ่มที่จะต้องเสียสละในขณะนั้นเลย พร้อมทั้งทรงการแผนที่เพื่อตรวจสอบถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงของสภาพภูมิประเทศ และหลังจากนั้น ก็จะทรงเรียกผู้นำท้องถิ่นและฝ่ายปกครองให้มารับทราบและ ดำเนินการในขั้นต้น ก่อนที่จะพระราชทานให้หน่วยงานปฏิบัติที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเชิงบริหาร และวิชาการต่อไปจนเสร็จสิ้นโครงการ
"...มีคนบอกว่าโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ ข้อนี้เป็นความคิดที่ผิดหรือเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากโครงการพระราชดำริแตะต้องไม่ได้ เมืองไทยไม่เจริญ..."
ความตั้งใจจริงและมีความเพียร
ทำงานต้องมีความตั้งใจ อย่าทำงานไปวันๆ ตั้งใจทำงานจะทำให้มีแรง มีกำลังใจ และต้องขยันหมั่นเพียร งานบางอย่างยาก แต่ก็ต้องฟันฝ่าไปให้ได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อคิดเกี่ยวกับความเพียรในพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ความตอนหนึ่งว่า
"...คนเราทำอะไรต้องมีความเพียร แม้ไม่เห็นฝั่งก็ต้องว่ายน้ำและมีคำตอบอยู่ว่ามีประโยชน์อย่างไร เพราะถ้าหากไม่เพียรที่จะว่ายน้ำเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ก็จะไม่พบเทวดา คนอื่นไม่มีความเพียรที่จะว่ายน้ำ ก็จมเป็นอาหารของปลา ของเต่า เพราะฉะนั้น ความเพียรแม้จะไม่ทราบว่าจะมีถึงฝั่งเมื่อไร ก็ต้องเพียรว่ายน้ำต่อไป..."
ทำงานต้องมีความตั้งใจ อย่าทำงานไปวันๆ ตั้งใจทำงานจะทำให้มีแรง มีกำลังใจ และต้องขยันหมั่นเพียร งานบางอย่างยาก แต่ก็ต้องฟันฝ่าไปให้ได้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานข้อคิดเกี่ยวกับความเพียรในพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" ความตอนหนึ่งว่า
"...คนเราทำอะไรต้องมีความเพียร แม้ไม่เห็นฝั่งก็ต้องว่ายน้ำและมีคำตอบอยู่ว่ามีประโยชน์อย่างไร เพราะถ้าหากไม่เพียรที่จะว่ายน้ำเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ก็จะไม่พบเทวดา คนอื่นไม่มีความเพียรที่จะว่ายน้ำ ก็จมเป็นอาหารของปลา ของเต่า เพราะฉะนั้น ความเพียรแม้จะไม่ทราบว่าจะมีถึงฝั่งเมื่อไร ก็ต้องเพียรว่ายน้ำต่อไป..."
กาแฟต้นเดียว : ก้าวแรกที่กล้าก้าว
เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาชาวเขา คือ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรไร่กาแฟที่ชาวกะเหรี่ยงปลูกไว้ บริเวณพื้นที่บ้างอังกาน้อย ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ไร่แห่งนั้นมีต้นกาแฟเพียงต้นเดียว มีพระราชกระแสกับข้าราชบริพารที่อยู่ในขบวนเสด็จฯ ที่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการเสด็จฯ ข้ามเขาสูงมาเพื่อการนี้ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาว่า "...แต่ก่อนเขาปลูกฝิ่น เราไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทน กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน ยังดีที่กาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง..." จึงต้องเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรจะได้แนะนำเขาต่อไปว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น ปรากฏว่าปีต่อมาราษฎรชาวกะเหรี่ยงดอยอินทนนท์ขายกาแฟได้เป็นเงินต่อไร่ต่อปี สูงกว่าที่เคยขายฝิ่นได้
เป็นตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาชาวเขา คือ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรไร่กาแฟที่ชาวกะเหรี่ยงปลูกไว้ บริเวณพื้นที่บ้างอังกาน้อย ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ไร่แห่งนั้นมีต้นกาแฟเพียงต้นเดียว มีพระราชกระแสกับข้าราชบริพารที่อยู่ในขบวนเสด็จฯ ที่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการเสด็จฯ ข้ามเขาสูงมาเพื่อการนี้ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาว่า "...แต่ก่อนเขาปลูกฝิ่น เราไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทน กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน ยังดีที่กาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง..." จึงต้องเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรจะได้แนะนำเขาต่อไปว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น ปรากฏว่าปีต่อมาราษฎรชาวกะเหรี่ยงดอยอินทนนท์ขายกาแฟได้เป็นเงินต่อไร่ต่อปี สูงกว่าที่เคยขายฝิ่นได้
คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
โดยต้องคิดให้ดี ให้ลึกซึ้ง อย่างเช่นโครงการเขื่อนป่าสักฯ เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและไม่ได้ละเลยคนส่วนน้อยที่ต้องเสียสละเพื่อ ส่วนรวม เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์อย่างมากมาย คนส่วนรวมต้องช่วยคนกลุ่มเล็กที่เสียสละอย่างเต็มที่
"...การปฏิบัติงานทุกอย่างของข้าราชการ มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ข้าราชการทุกคนจะต้องทำหน้าที่ทุกๆ ประการให้ บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เพื่อผลการปฏิบัติราชการทุกอย่างจักได้บรรลุความสำเร็จอย่างสูง และบังเกิดประโยชน์อย่างดีที่สุดแก่ตนเอง แก่หน้าที่และแก่แผ่นดิน..."
โดยต้องคิดให้ดี ให้ลึกซึ้ง อย่างเช่นโครงการเขื่อนป่าสักฯ เป็นการดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและไม่ได้ละเลยคนส่วนน้อยที่ต้องเสียสละเพื่อ ส่วนรวม เมื่อส่วนรวมได้ประโยชน์อย่างมากมาย คนส่วนรวมต้องช่วยคนกลุ่มเล็กที่เสียสละอย่างเต็มที่
"...การปฏิบัติงานทุกอย่างของข้าราชการ มีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ข้าราชการทุกคนจะต้องทำหน้าที่ทุกๆ ประการให้ บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยเต็มกำลังสติปัญญา ความรู้ ความสามารถ เพื่อผลการปฏิบัติราชการทุกอย่างจักได้บรรลุความสำเร็จอย่างสูง และบังเกิดประโยชน์อย่างดีที่สุดแก่ตนเอง แก่หน้าที่และแก่แผ่นดิน..."
เข้าใจความต้องการของประชาชน
ถ้าประชาชนไม่ต้องการอย่าไปยัดเยียดอะไรให้ ดังเช่นการดำเนินงานโครงการต่างๆ ให้แก่ประชาชนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอๆ ว่า
"...การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลที่สุด... อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."
ถ้าประชาชนไม่ต้องการอย่าไปยัดเยียดอะไรให้ ดังเช่นการดำเนินงานโครงการต่างๆ ให้แก่ประชาชนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอๆ ว่า
"...การเข้าใจถึงสถานการณ์ของผู้ที่เราจะช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การช่วยเหลือให้เขาได้รับสิ่งที่เขาควรจะได้รับตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม จะเป็นการช่วยเหลือที่ได้ผลที่สุด... อีกประการหนึ่งในการช่วยเหลือนั้น ควรยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขาเพื่อให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ต่อไป..."
พึ่งตนเอง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้ชาวไทยสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งตนเองทั้งทางด้านจิตใจ ที่ต้องเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม ด้านสังคม ก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ หรือแม้กระทั่งด้านเศรษฐกิจ ที่ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ยืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่าสองขาของเรานี่ ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน..."
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้ชาวไทยสามารถดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งตนเองทั้งทางด้านจิตใจ ที่ต้องเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม ด้านสังคม ก็ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรงเป็นอิสระ หรือแม้กระทั่งด้านเศรษฐกิจ ที่ต้องมุ่งลดรายจ่ายก่อนเป็นสำคัญ และยึดหลักพออยู่ พอกิน พอใช้ และสามารถอยู่ได้ด้วยตนเองในระดับพื้นฐาน ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ยืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่าสองขาของเรานี่ ยืนบนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่นมาใช้สำหรับยืน..."
ส่งเสริมคนดีและคนเก่ง
ควรให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน เพราะคนดี คนเก่ง จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังพระราชดำรัสที่ว่า "...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด หากอยู่แต่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้..."
ควรให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ปฏิบัติงาน เพราะคนดี คนเก่ง จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังพระราชดำรัสที่ว่า "...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด หากอยู่แต่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้..."
การเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
ต้องคิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดถึงแต่ตัวเอง เห็นแก่ตัวอย่างเดียวอยู่ไม่รอด ต้องรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่คนไทยไว้ว่า "...สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่..."
อีกทั้งทรงรับสั่งอยู่เสมอเกี่ยวกับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ว่า ที่พระองค์ทรงทำอยู่นั้นทรงใช้หลักสังฆทาน ความหมายนี้ลึกซึ้งมาก คือ "ให้เพื่อให้" พระองค์ไม่เคยนึกว่าเมื่อให้แล้วจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ หลักสังฆทานให้โดยไม่เลือก ในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้ประสบความทุกข์ยากก็มีโครงการเข้าไปช่วยเหลือ ให้เพื่อให้จริงๆ ไม่ได้ให้เพื่อคิดหวังอะไรตอบแทน
ต้องคิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดถึงแต่ตัวเอง เห็นแก่ตัวอย่างเดียวอยู่ไม่รอด ต้องรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่คนไทยไว้ว่า "...สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่..."
อีกทั้งทรงรับสั่งอยู่เสมอเกี่ยวกับการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ว่า ที่พระองค์ทรงทำอยู่นั้นทรงใช้หลักสังฆทาน ความหมายนี้ลึกซึ้งมาก คือ "ให้เพื่อให้" พระองค์ไม่เคยนึกว่าเมื่อให้แล้วจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ หลักสังฆทานให้โดยไม่เลือก ในฐานะเพื่อนมนุษย์ผู้ประสบความทุกข์ยากก็มีโครงการเข้าไปช่วยเหลือ ให้เพื่อให้จริงๆ ไม่ได้ให้เพื่อคิดหวังอะไรตอบแทน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คือยึดความพอดี พอเพียง พอควร เป็นที่ตั้ง อย่าทำอะไรให้ล้นเกินพอดี เศรษฐกิจพอเพียงอธิบายอย่างง่ายที่สุด คือ ถ้ากินมากก็จุก ไม่กินหรือกินน้อยก็หิวโหย ทำอะไรให้พอดี แต่ต้องทำอย่างเต็มศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
"...พอเพียงนี้ความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียงหมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."
คือยึดความพอดี พอเพียง พอควร เป็นที่ตั้ง อย่าทำอะไรให้ล้นเกินพอดี เศรษฐกิจพอเพียงอธิบายอย่างง่ายที่สุด คือ ถ้ากินมากก็จุก ไม่กินหรือกินน้อยก็หิวโหย ทำอะไรให้พอดี แต่ต้องทำอย่างเต็มศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
"...พอเพียงนี้ความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียงหมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข..."
ภูมิสังคม
การพัฒนาใดๆ ต้องสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้นๆ เนื่องจากแต่ละแห่งคนไม่เหมือนกัน ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีก็ไม่เหมือนกัน ทรงใช้คำว่า "ภูมิสังคม" คือ ทรงดูลักษณะภูมิศาสตร์และลักษณะของสังคม ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า
"...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วย โดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง..."
การพัฒนาใดๆ ต้องสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนั้นๆ เนื่องจากแต่ละแห่งคนไม่เหมือนกัน ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศของบริเวณนั้นว่าเป็นอย่างไร และสังคมวิทยาเกี่ยวกับลักษณะนิสัยใจคอของคน ตลอดจนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีก็ไม่เหมือนกัน ทรงใช้คำว่า "ภูมิสังคม" คือ ทรงดูลักษณะภูมิศาสตร์และลักษณะของสังคม ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า
"...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือ นิสัยใจคอของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วย โดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้ แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนานี้ ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง..."
รู้ รัก สามัคคี
รู้ คือ รู้ต้นเหตุ รู้ปปลายเหตุ แล้วถึงเริ่มทำงาน จะได้มีประสิทธิภาพ ต้องรู้ถึงปัจจัยทั้งหมด ทั้งรู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา
รัก คือ ความรัก ความเมตตา ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ และไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ อีกทั้งความรักที่มีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน ก็สามารถนำไปสู่ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนให้บุคคลอื่น บรรลุประโยชน์ หรือเข้าถึงจุดหมายของชีวิตของเขาในระดับต่างๆ ได้
สามัคคี คือ การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
รู้ คือ รู้ต้นเหตุ รู้ปปลายเหตุ แล้วถึงเริ่มทำงาน จะได้มีประสิทธิภาพ ต้องรู้ถึงปัจจัยทั้งหมด ทั้งรู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา
รัก คือ ความรัก ความเมตตา ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ และไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ อีกทั้งความรักที่มีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน ก็สามารถนำไปสู่ความปรารถนาที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลสนับสนุนให้บุคคลอื่น บรรลุประโยชน์ หรือเข้าถึงจุดหมายของชีวิตของเขาในระดับต่างๆ ได้
สามัคคี คือ การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่า เราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจก่อน การพัฒนาในด้านต่างๆ ต้องเข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจคน เข้าใจหลักปฏิบัติและที่สำคัญ เราเข้าใจเขาและจะต้องทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเราด้วย เราเข้าถึงเขาแล้ว ต้องทำอย่างไรให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย เมื่อเข้าใจกันแล้วก็สามารถที่จะนำไปสู่การพัฒนาในขั้นต่อไปได้
เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจก่อน การพัฒนาในด้านต่างๆ ต้องเข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจคน เข้าใจหลักปฏิบัติและที่สำคัญ เราเข้าใจเขาและจะต้องทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเราด้วย เราเข้าถึงเขาแล้ว ต้องทำอย่างไรให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย เมื่อเข้าใจกันแล้วก็สามารถที่จะนำไปสู่การพัฒนาในขั้นต่อไปได้
ปลูกป่าในใจคน
เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดิน ด้วยความต้องการอยู่รอดของมนุษย์ ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิดขึ้น ดังนั้นในการที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกใน การรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า "...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."
เป็นการปลูกป่าลงบนแผ่นดิน ด้วยความต้องการอยู่รอดของมนุษย์ ทำให้ต้องการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง เพื่อประโยชน์ของตนเองและสร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อม ไม่รู้จักพอ ปัญหาความไม่สมดุลจึงบังเกิดขึ้น ดังนั้นในการที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้องปลูกจิตสำนึกใน การรักผืนป่าให้แก่คนเสียก่อน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า "...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."
ทำงานอย่างมีความสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า "...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น..."
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระเกษมสำราญ และทรงมีความสุขทุกคราที่ได้ช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า "...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น..."
พระราชโอรสและพระราชธิดา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น